เครื่องพิมพ์ดีดภาษาจีน มันเป็นยังไง? เป็นอย่างนี้จริงๆเหรอ?

เคยคิดกันบ้างป่าวว่า ก่อนมีคอมพิวเตอร์ คนจีนเขาพิมพ์อักษรกันยังไง? เหมือนพิมพ์ดีดภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษรึเปล่า แล้วถ้าจะบอกว่าพิมพ์ดีดจีนไม่ได้มีแค่ไม่กี่ปุ่ม แต่มีเป็นพันปุ่มล่ะจะเชื่อไหม?

ภาพล้อเลียนจากฝรั่งว่าเครื่องพิมพ์ดีดจีนยากขนาดไหน

มาดูเรื่องราวของความพยายามที่จะยัดตัวอักษรกว่าหมื่นตัวเข้าไปในเจ้าเครื่องพิมพ์ดีดแค่นี้ พร้อมยัง มาเดี๋ยวเล่าให้ฟัง

ไม่รู้เหมือนกันว่ายังมีคนรู้จักหรือจำเจ้าเครื่องพิมพ์ดีดแบบนี้ได้ไหม เวลาพิมพ์ก็จะได้ยินเสียง แต๊ก แต๊ก แต๊ก พิมพ์ไปจนสุดก็ต้องปรับตัวหมุนให้กลับมาที่เดิมเพื่อเริ่มบรรทัดใหม่ เจ้าสิ่งนี้มีมาก่อนคอมพิวเตอร์ที่เราใช่กันในปัจจุบัน ลองจินตนาการถึงยุคที่เปลี่ยนจากการเขียนมาพิมพ์แบบนี้แล้วพิมพ์ได้เร็วกว่า ใครๆก็อยากใช้ใช่ป่ะ มันทำงานเร็วขึ้น สื่อสารกันได้เร็วขึ้น

สิ่งนี้ดูแล้วในภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษก็ดูจะสร้างไม่ยากเท่าไหร่ แต่ใส่สระพยัญชนะ ตัวเลข และ เครื่องหมายให้ครบก็ใช้เครื่องได้แล้ว กดตัวอักษรไหนก็ได้อักษรนั้นประกอบกันออกมาเป็นคำ แต่ไม่ใช่กับภาษาจีนที่มีอักษรเป็นหมื่นๆ ตัว

Chinese typewritter - Predictive Text
การพิมพ์เดี๋ยวนี้ง่ายๆ คอมช่วยเดา

ปัจจุบันนี้เราก็พิมพ์ด้วยอักษรแทนเสียงอย่างพินอินหรือจู้อินกัน แล้วคอมพิวเตอร์จะเดาออกมาว่าเราจะพิมพ์อักษรไหนให้เราเลือก มันสะดวกมากซะจนนึกไม่ออกเลยว่าก่อนมีเทคโนโลยีปัจจุบัน โลกภาษาจีนเขาจะทำยังไง เขียนเหรอ? พิมพ์ดีดได้ไหม?

ด้วยอักษรกว่าหมื่นๆตัว มันเป็นเรื่องยากมากที่อักษรจีนจะแค่เปลี่ยนอักษรแล้วเอาเข้าไปใส่ในแป้นพิมพ์เพียงไม่กี่สิบปุ่ม ที่ถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อแต่ดักเหมาะกับภาษาที่เขียนตามเสียง มากกว่าอักษรภาพเนี่ยสิ

พอปัญหาและข้อจำกัดเป็นแบบนี้แน่นอนว่าย่อมไม่สามารถที่จะแก้ด้วยแค่วิธีเอาไปแทนที่

Chinese typewritter - SHU typewritter

舒式打字机 ตัวเเรกของภาษาจีน

เครื่องพิมพ์ดีดแรกที่ออกมาในปีค.ศ. 1919 คือ 舒式打字机 (Shū shì dǎzìjī) หรือ เครื่องพิมพ์ดีดแบบซู คิดค้นโดยซูเจิ้น (舒震 | Shū Zhèn) เห็นภาพแล้วก็ เอ๊ะ นี่เครื่องพิมพ์ดีดจริงๆ เหรอ ใช่ครับ แต่เปลี่ยนวิธีการจากที่ต้องใช้ 10 นิ้วมาพิมพ์ เป็น 2 มือมาหาอักษรแทน

Chinese typewritter - Shu typewritter table
ตารางการเรียงอักษรของเครื่องพิมพ์ดีดแบบซู 舒式打字机
Chinese typewritter - Shu typewritter how to organize text

เจ้าเครื่องนี้ลดอักษรหมื่นๆ ตัวเหลือเพียงแค่ไม่กี่พันตัวด้วยแนวคิดที่ว่าตัวอักษรที่ใช้บ่อยจริงๆ ก็มีเพียงเท่านี้ และเรียงจากตัวที่ใช้บ่อยๆ ให้อยู่กลางๆ ไล่ออกไปตัวที่ใช้น้อยให้อยู่รอบๆ

ปัญหามันอยู่ที่เครื่องนี้น่ะ มัน ช้า มาก แม้จะมีตารางช่วยให้หาคำได้ง่ายขึ้น แต่ใครจะอยากใช้ถ้าเขียนแล้วยังเร็วกว่า (ถึงอย่างนั้นก็แอบมีหักมุมนะ)

Chinese typewritter - Mingkuai typewritter 明快打字机

明快打字机 เครื่องพิมพ์ดีดที่เกือบได้เป็นตำนาน

หลินอหวี่ถาง (林语堂) ผู้คิดค้นเจ้าเครื่องพิมพ์ดีดหมิงไคว่ (明快打字机 | Míngkuài dǎzìjī) ที่จะเรียกได้ว่าอัจฉริยะก็ได้ ได้พยายามผลิตเจ้าเครื่องนี้ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1916 จนสามารถผลิตงานตัวอย่างชิ้นแรกได้จริงในปี ค.ศ. 1947 ใช้เวลา 30 กว่าปี กลไกของมันเรียกได้ว่าโคตรเทพในสมัยนั้น และ ขนาดก็ใหญ่กว่าเครื่องพิมพ์ดีภาษาอังกฤษไม่มากนัก แต่สามารถพิมพ์ได้ถึง 8,064 ตัวอักษรทั้งจีน อังกฤษ ตัวเลขและเครื่องหมายต่างๆ

Chinese typewritter - Mingkuai typewritter 明快打字机
กลไลส่วนประกอบอักษรจีน ซ้ายบน และ ขวาล่าง ของ 明快打字机

หลินอหวี่ถาง (林语堂) ได้ใช้หลักการอักษรที่ใช้บ่อย และ การผสมอักษรเข้ามาเพื่อพัฒนาเจ้าเครื่องนี้ เราเพียงแค่ต้องพิมพ์ส่วนประกอบซ้ายบน และ ขวาล่าง ทำให้พิมพ์ได้เร็วถึง 50 ตัวอักษรต่อนาทีเลย ไวกว่าการเขียนมาก

Chinese typewritter - Mingkuai typewritter 明快打字机 how to type
พิมพ์แค่ซ้ายบนกับขวาล่างก็พอ

ลองยกตัวอย่าง หากเราจะพิมพ์ตัว 信 (xìn) เราก็จะพิมพ์ 亻(dānrénpáng) และ 口 (kǒu) เครื่องก็จะเสนออักษรออกมาให้เลือก 8 ตัว จากนั้นเราก็กดตัวเลขเพื่อเลือกตัวที่ถูกต้อง แกนเหล็กสุดพิเศษนี้ก็จะหมุนไปพิมพ์อักษรที่เราต้องการให้ทันที

Chinese typewritter - Mingkuai typewritter 明快打字机 suggesting text
พิมพ์ไปแล้วมันก็จะเสนอขึ้นมาให้เลือกแบบนี้เลย

คุ้นๆ ไหมครับ มันคือระบบที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของการพิมพ์แบบให้คอมเดาในปัจจุบันนี้นี่เเหละ

แม้ฝั่งฝรั่งจากพยายามสร้างคอมเครื่องแรกๆ มีพิมพ์จีนได้ Sinotype ในยุคนั้น แต่ก็ยังพิมพ์ได้แค่ 2,000 ตัวอักษรจีน เจ้าเครื่องนี้มันพิเศษขนาดนั้นเลยล่ะ

แต่ดวงจะไม่ได้เกิดเนี่ยสิ เจ้าเครื่องนี้ก็ยังเป็นได้แค่สินค้าตัวอย่าง ไม่ได้ผลิดออกมาขายจริงๆ เพราะในเวลานั้นที่จีนเกิดสงครามกลางเมือง โรงงานในจีนก็ไม่มีใครสนที่จะผลิต โรงงานต่างประเทศก็ไม่อยากลงทุกเพราะการผลิตมันยาก สุดท้ายก็เลยต้องแห้วไป

แล้วหลังจากนั้นล่ะ?

จนปี ค.ศ. 1952 จางจี้อิง (张继英 | Zhāng Jìyīng) ได้เสนอวิธีการพิมพ์และแป้นพิมพ์แบบใหม่ ซึ่งต่อมาได้มารวมพัฒนาเป็นพื้นฐานระบบการพิมพ์เพื่อให้คอมเดาแบบในปัจจุบัน

Chinese typewritter - New tray oragaization

ระบบที่ถูกพัฒนาต่อดันกลายเป็น เครื่องพิมพ์ดีดแบบซู (舒式打字机 | Shūshì dǎzìjī) ด้วยข้อดีของมันที่ผลิตได้ง่ายและราคาต้นทุนถูก ได้ถูกพัฒนาออกมาอีกหลายตัวที่โด่งดัง ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีดแบรนด์เหวินฮว่า (文化牌打字机 | Wénhuà pái dǎzìjī)、เครื่องพิมพ์ดีดแบรนด์ว่านเหนิง (万能牌打字机 | Wànnéng pái dǎzìjī)、เครื่องพิมพ์ดีดแบรนด์นกพิราบบิน (飞鸽牌打字机 | Fēigé pái dǎzìjī)、เครื่องพิมพ์ดีดแบรนด์นกพิราบคู่ (双鸽牌打自己 | Shuānggé pái dǎzìjī) แต่แม้จะพัฒนาแต่ไหนก็ยังพิมพ์ได้ไม่เกิน 50 ตัวอักษรต่อนาที

Chinese typewritter - Double Pigeon

เมื่อเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์แล้ว ภาษาจีนก็ได้มีวิธีการพิมพ์อีกหลายรูปแบบ แต่ที่ช่วยให้พิมพ์ได้เร็วที่สุดก็หนีไม่พ้นการพิมพ์ด้วยอักษรแทนเสียงแบบพินอิน (拼音 | pīngyīn) และจู้อิน (注音 | zhùyīn) ที่ร่วมกับ predictive text ทำให้เทคโนโลยีและความรู้ของจีนพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนเราได้มาใช้กันในปัจจุบัน

น่าเสียดายเหมือนกันที่เครื่องพิมพ์ดีดหมิงไคว่ (明快打字机 | Míngkuài dǎzìjī) ไม่ได้ผลิตออกมา ไม่อย่างนั้นอาจจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีและความรู้ในจีนมากกว่านี้ ทุกคนคิดว่าไงบ้าง คอมเมนท์มาคุยกันครับ

ติดตาม Tutustory 图图是道 เรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่

อ้างอิง

Author

  • Game 黄俊宏

    กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

    View all posts