ยิ่งเรียนภาษาจีน ยิ่งเจอเครื่องหมายต่างๆเยอะขึ้น แต่ก็มีเครื่องหมาย 「」『』เนี่ยแหละ ที่เห็นครั้งแรกก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ใช้ยังไง แล้วสรุปมันคือเครื่องหมายอะไร มาอ่านกันต่อได้เลย
「」『』ก็คือเครื่องหมายคำพูดในอีกรูปแบบเนี่ยแหละ
แต่เดิมเนี่ยภาษาจีนตั้งแต่โบราณไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน และค่อยๆ เพิ่มมาเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ก็ค่อยๆ มีเพิ่มเข้ามา แต่ช่วงที่เพิ่มขึ้นมาเยอะๆ ก็เป็นช่วงยุคหลังๆ แล้ว
เจ้าเครื่องหมาย 「」『』คือกลุ่มเครื่องหมายอัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูดนั่นแหละ โดยรวมๆ ภาษาจีนจะเรียกเครื่องหมายคำพูดว่า 引号 (yǐnhào) ทั้งสองตัวนี้ใช้เหมือนกับ 引号 ที่เราเห็นโดยปกติเลย เทียบได้ตามนี้
- 「」 คือ ‘ ’ เรียกว่า 单引号 dānyǐnhào อัญประกาศเดี่ยว
- 『』 คือ “ ” เรียกว่า 双引号 shuāngyǐnhào อัญประกาศคู่
อ่านวิธีการใช้เพิ่มเติมและเรื่องหมายวรรคตอนอื่นๆ ได้ที่นี่
ทั้งหมดเป็นสินค้านำเข้าทางภาษา
หลายๆ คนเข้าใจว่า 「」『』เนี่ยมีที่มาจากภาษาจีน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 「」『』直角引号 (zhíjiǎo yǐnhào) และ ‘ ‘ “ “ 弯引号 (wǎn yǐnhào) จัดว่าเป็นสินค้านำเข้าทั้งคู่เลย 😂
‘ ‘ “ “ รับมาจากทางตะวันตกอย่างที่เราเข้าใจกัน เหมือนในภาษาไทยที่รับมาเช่นกัน
「」『』นี่ได้รับมาจากทาง ญี่ปุ่น โดยแนวคิดที่ใช้จนเหมือน ‘ ‘ “ “ ก็ในช่วงยุคเมจิแล้ว (明治時代 ค.ศ. 1852-1912)
เมื่อรับมาจากทั้งสองที่ และและไม่ได้กำหนดมาตรฐานการใช้อย่างเป็นทางการย่อมต้องเกิดความสับสนแน่นอน จนในที่สุดรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1951 ได้ประกาศกำหนดวิธีการใช้ทั้งคู่และเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ในประกาศ 《标点符号用法》และได้อัพเดทในเวลาต่อๆมา
「」『』เจอได้ทั้งในภาษาจีนและญี่ปุ่น ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
「」『』直角引号 นี้ปัจจุบันก็ยังเจอได้ทั้งในภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนตัวย่อ และ ตัวเต็ม ซึ่งยังมีทั้งรูปแบบที่เขียนแบบแนวตั้ง﹁﹂、﹃﹄ และแนวนอน「」『』ตามภาพด้วย โดยส่วนใหญ่จะพบได้ในหนังสือต่างๆ โดยเฉพาะที่เขียนเป็นแนวตั้ง สำหรับที่อื่นๆ ในอินเตอร์เน็ทหรือพาดหัวต่างๆ ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้เขียน
อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้ 「」『』直角引号 ต้องเป็น「」『』ทั้งหมด เช่นเดียวกัน ถ้าเป็น ‘ ‘ “ “ ก็ต้องใช้เหมือนกันทั้งหมด ไม่มีใช้ผสมกัน
อยากรู้เรื่องเครื่องหมายวรรคตอนของจีนเพิ่มอีก อ่านบทความนี้ได้เลย
ติดตาม Tutustory 图图是道 เรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่