4 ขั้นตอนง่ายๆ เลือกสื่อไว้เรียนจีนเอง

ปัญหาคลาสสิกของคนอยากเรียนภาษาจีนด้วยตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าหนังสือ เรื่องสั้น PodCast หรือคลิปวิดีโอนี้เหมาะกับตัวเองไหม ยากไปก็ท้อ ง่ายไปก็เบื่อ แถมอยากดูอย่ากอ่านไปหมดอีก ทำไงดี?

เราสามารถเก็บทุกอย่างที่ชอบได้ แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเหมาะกับที่เราจะเอามาตั้งใจเรียนรู้ ขนาดซีรีส์ หนังสือที่ซื้อมายังมีคนแอบดองไว้เลย ขืนทำหมดตายพอดี ไม่เหลือเวลาทำอะไรแล้ว หนังสือก็ต้องอ่าน งานก็ต้องทำ แถมพลังสมาธิไม่พออีก เลยมาแชร์เทคนิคให้เลือกกันด้วยว่าชิวๆ หรือเอามาเรียนดี

มา! เดี๋ยวเกม Tutustory จะมาแนะนำวิธีง่ายๆ ที่เป็นเทคนิคส่วนตัวที่ใช้อยู่ เพื่อเลือกสื่อทื่ทั้งเหมาะกับความชอบเราและระดับที่เหมาะกับเราดู มี PDF แจกช่วยท้ายพร้อมบอกวิธีแจกด้วย แชร์เลย อย่าพลาดล่ะ


ขั้นที่ 0 | เข้าใจตัวเองก่อน ว่าเราชอบเรียนรู้แบบไหน

ก่อนจะเริ่มทั้งหมด แนะนำเลยว่าถามตัวเองกันก่อนเลยว่าเราเป็นคนที่เรียนรู้แบบไหน ชอบนั่งฟัง ดูคลิป หรืออ่านมากกว่ากัน ความรู้ที่เราสามารถรับได้ไม่ได้มีแค่วิธีเดียว แน่นอนว่าเราเองก็ไม่จำกัดว่าต้องเรียนรู้วิธีเดียวด้วย

🚨 คำถามที่ต้องถามตัวเอง: ลองเรียงลำดับดูว่าเราชอบอ่าน ดู หรือฟัง มากกว่ากัน?

💬 ถ้าตอบว่า:

  • ถ้าตอบว่าอ่านมาก่อน: แน่นอนคุณมีแนวโน้มจะเหมาะกับบทความสั้น หรือ หนังสือ
  • ถ้าตอบว่าดูมาก่อน: ก็เลือกคลิปสั้น วิดีโอ หนังหรือซีรีส์ไปเลย
  • ถ้าตอบว่าฟังมาก่อน: อันนี้จะเลือกเป็น PodCast หรือวีดีโอก็ได้(ไม่ต้องดูภาพ)

คนคงแบบเอ๊ะมันก็ง่ายๆ ป่าว ใช่ครับ มันง่ายแค่นั้นแหละ แต่คำถามคือให้เรียงลำดับใช่ป่ะ ให้เรียง 1 2 3 สุดท้ายจะให้ฝึกหมดครับ 555 แต่อัตราส่วนไม่เท่ากัน ให้เป็น

  • อันดับ 1 ปริมาณ 70% ของที่เราจะเลือก
  • อันดับ 2 ปริมาณ 20% ของที่เราจะเลือกฝึก
  • อันดับ 3 ปริมาณ 10% ของที่เราจะเลือกฝึก

เอาจริงข้อนี้อาจจะไม่ต้องตอบก็ได้ สามารถวัดจากสื่อที่เราชอบเซฟเก็บ อะไรเยอะสุดก็เลือกอันนั้นมาฝึกแหละ พอเห็นภาพของเราแล้วว่าเหมาะกับอะไรจะได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น มาเริ่มกันจริงๆ ดีกว่า


ขั้นที่ 1 | อ่าน ดู หรือฟังให้จบ 1 รอบ ห้ามหาศัพท์ก่อน!

ขั้นแรกนี้ง่ายๆ เลย ห้ามหาศัพท์ก่อน สำคัญมากๆ เป็นการทดสอบตัวเองว่าสื่อนั้นๆ เหมาะกับเราแค่ไหน ถ้าทำเสร็จก็ติ๊กซะ แต่เอาแค่รอบเดียวนะ

🚨 คำถามที่ต้องถามตัวเอง: ถ้าทำเรียบร้อยแล้วก็ติ๊กเลย

  • [ ] ฟังจบ 1 รอบโดยไม่เปิดศัพท์เรียบร้อย

ขั้นที่ 2 | ฟังจบแล้วลองพยายามสรุปสิ่งที่เราเข้าใจดู

ฟังจบแล้วไม่พอ เอาจริงต้องพูดหรือเขียนว่าเรื่องที่เรา อ่าน ดู ฟัง นี่เป็นยังไง เกี่ยวกับอะไร หรือ ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร เขียนหรือพูดอัดเสียงไว้ แล้วเดี๋ยวเรามาประเมินกันในขั้นต่อไป จะได้ไม่คิดเข้าข้างตัวเอง หรือ คิดว่ายากไป

🚨 คำถามที่ต้องถามตัวเอง: ถ้าทำเรียบร้อยแล้วลองเขียนหรืออัดเสียงสรุปสักที่นะ ใน PDF เราก็ได้

  • [ ] เขียน/อัดเสียงสรุปเรียบร้อย

ขั้นที่ 3 | ประเมินความยาก ดูว่าเราเข้าใจกี่เปอร์เซ็นต์

มาตอนนี้น่าจะพอรู้ตัวแล้วว่าเข้าใจความหมายประมาณไหน ลองมาติ๊กกันดูว่าเข้าใจกี่เปอร์เซนต์ ลองติ๊กกันเลย

🚨 คำถามที่ต้องถามตัวเอง: เราเข้าใจเนื้อหาของสื่อนี้กี่เปอร์เซนต์ เลือกข้อที่ใช้สำหรับเราแล้วติ๊กเลย

  • [ ] A. น่าจะอยู่ที่ 91% – 100% | ถ้าเขียนได้สบายๆ มีไม่รู้ความหมายนิดหน่อย
  • [ ] B. น่าจะอยู่ที่ 61 – 90% | ถ้าเกาหัวแกรกๆ เดาความหมายประโยคหรือศัพท์ไม่ได้ไม่เกินครึ่งตอน
  • [ ] C. น่าจะต่ำกว่า 60% | ถ้าเขียนไม่ออกเลย หรือ เขียนได้ไม่ถึงครึ่งตอน

ติ๊กแล้วเดี๋ยวไปดูกันตอนจบอีกทีว่าเป็นไง


ขั้นที่ 4 | เงื่อนไขอื่นๆ ลองดูแล้วติ๊กเลย

ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่เราต้องดูด้วยนะว่าเหมาะสมไหม มาลองดูว่า 2 ข้อนี้ เข้าข่ายมั้ย

มาลองถามตัวเองกันว่า 👇

🚨 คำถามที่ต้องถามตัวเอง: รอบนี้ให้ติ๊กถูกในช่องว่างกันว่ามีกี่ข้อ

ถามเพิ่มเติมอีกหน่อย ติ๊กข้อที่ตรงเงื่อนไข

  • [ ] ถ้าเอามาเรียน จะใช้เวลาน้อยกว่า 60 นาทีที่จะฝึกอย่างตั้งใจ รวมถึงจดศัพท์และสรุปด้วยใช่ไหม?
  • [ ] ความรู้ที่จะได้จากเรื่องนี้ ตอนนี้ยังใช้ได้อยู่ไหม?

💬 ไปต่อกันที่สรุปผลเลย


สรุปผล | ดูยังไงว่าสื่อชิ้นนั้นๆ เหมาะกับที่เราจะเอามาเรียนรู้

มาถึงช่วงตัดสินใจแล้ว ว่าสื่อชิ้นนี้อ่ะ เหมาะไหมที่จะเอามาเรียนเอง หรือ ปล่อยจอยเสพย์แค่เพื่อความบันเทิงพอ

ที่เราทำมาทั้งหมดคือเพื่อจะทำ ข้อ 3 และข้อ 4 แบบไม่เข้าข้างตัวเองครับ เพราะฉะนั้นเราจะมาดูกันว่าเราตอบอะไรที่ ข้อ 3 และ ข้อ 4

💬 ข้อ 3 เราจะดูความยากที่เหมาะกับเรา ถ้าตอบว่า:

  • A. 91% – 100% | ใช้อันนี้ก็ได้ แต่แนะนำให้หาระดับยากขึ้น
  • B. 61 – 90% | ระดับกำลังท้าทาย ยิ่งถ้ารู้หรือเข้าใจเนื้อหาเยอะสัก 70% – 80% นี่เหมาะมากที่จะเอามาฝึก
  • C. ต่ำกว่า 60% | ควรเลือกอันที่ง่ายขึ้น อันนี้ยากไป

💬 ข้อ 4 จะดูว่าคุ้มค่าที่จะเอามาเรียนไหม

  • ถ้าติ๊กถูกทั้ง 2 ข้อ: แนะนำมากๆ เลยให้เอามาเรียนเลย หรือเก็บไว้ใช้เรียนเมื่อว่างครับ
  • ถ้าไม่ครบ 2 ข้อหรือไม่ติ๊กเลย: แนะนำว่าใช้เสพย์แค่เพื่อความบันเทิงพอครับ เพราะเราอาจจะเสียเวลานานเกินไปที่จะเอามาตั้งใจเรียน หรือ แบ่งส่วนมาฝึกได้ แบบซีรีส์ก็ตัดตอนแค่บางช่วงมาตั้งใจดูทุกประโยค นอกนั้นดูไปเลย จดศัพท์เมื่อสนใจจริงๆ เอา

ลองเอาไปใช้กันดูนะ จะได้รู้เลยว่าอันนี้เราดูไว้เพื่อความบันเทิง ตามพระเอกนางเอก หรือเอามาเพื่อใช้เรียนรู้จริงๆ


แนะนำกิจกรรมอีกนิด ถ้าหากหาบทความสั้นภาษาจีน ตอนนี้เพจเราก็มีกิจกรรมฝึกอ่านภาษาจีน 30 วัน แบ่งตามระดับความยาก มีทั้งภาษาจีน คลิปเสียง แปลไทย พินอินและคำศัพท์ สนใจฝึกไปอ่านได้เลยที่นี่

https://tutustory.com/practice-chinese-30days-ss2/


ช่วงอยากแจก | PDF เอาไว้ใช้พิมพ์หรือไปเขียน ทำตามนี้เลย

เกมมีทำเป็น PDF แบบให้ติ๊กๆ ด้วยเลย เผื่อใครอยากเอาไปใช้เช็กว่า อันนี้เหมาะมั้ย แจกไปให้ใช้กับฟรีๆ ง่ายๆ แค่ไม่กี่ขั้นตอนตามนี้เลย

ขั้นตอนแจ้งขอ PDF file

  1. แชร์โพสนี้ใน Facebook หรือ Instagram ของคุณ
    1. Facebook Post อย่าลืมเปิดเป็น ‘สาธารณะ’ ด้วยนะ
    2. Instagram แชร์ลง Story และ แท็ก @tutu.story มาเลย
  2. แคปรูปที่คุณแชร์และส่งที่ LINE: @tutustory หรือ ที่ลิงก์นี้ได้เลยนะ https://lin.ee/8e2pyjO
  3. พิมพ์ pdftg1 พร้อมส่งรูปที่แคปมา
  4. รอแอดมินตรวจสอบ ไม่เกิน 24 ชม แล้วจะรีบส่งไฟล์ให้ครับ

จัดให้ฟรีๆ แล้ว อย่าลืมลองเอาไปใช้กันดูนะครับ ถ้าถูกใจแชร์ให้เพื่อนๆ ใช้กันได้เลยน้า


ติดตาม Tutustory 图图是道 เรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่

Author

  • Game 黄俊宏

    กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

    View all posts