อยากได้กรอบรูปวงรี อยากได้จี้รูปข้าวหลามตัด แต่ไม่รู้จะบรรยาย หรือใช้คำไหนค้นหา มาเดี๋ยว 图图是道 จัดให้ อ่านจบบทความนี้รับรองว่ารู้ทุกรูปทรง เวลาต้องใช้บรรยายรูปร่างสิ่งของที่ต้องการจะได้บรรยายได้แบบมือโปร
จริงๆ เรื่องรูปทรงเป็นหนึ่งในเรื่องที่เข้าใจง่าย เพราะแค่เห็นภาพ เพียงแค่เข้าใจหลักการ เราก็สามารถบรรยายได้เลย ที่น่าสนใจคือหลักการในภาษาจีนนั้น ง่าย และ ตรงตัวมากๆ เลยทีเดียว
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
二维形状 วอร์มเครื่องกันด้วยรูปทรงง่ายๆ แบบ 2 มิติ
二维形状 ( èrwéi xíngzhuàng) รูปทรง 2 มิติ สามารถเรียกอีกอย่างว่า 平面图 (píngmiàn tú) ก็ได้ เป็นรูปแบนๆ เราจะมองแค่ 宽度 (kuān dù | ด้านกว้าง) กับ 长度 ( cháng dù | ด้านยาว) เท่านั้น มีหลากหลายรูปทรงที่เรารู้จักกันดีเยอะแยะเลย
- 直线 (zhíxiàn) เส้นตรง
- 曲线 (qūxiàn) เส้นโค้ง
- 之字线 (zhīzìxiàn) เส้นหยัก, เส้นซิกแซก
- 圆形 (yuánxíng) วงกลม อันนี้ง่าย เวลาจะบรรยายอะไรว่า กลมๆ ก็ใช้คำว่า 圆圆的 ได้เลย
- 半圆形 (bàn yuánxíng) รูปครึ่งวงกลม
- 椭圆形 (tuǒ yuánxíng) วงรี เติมแค่คำเดียวข้างหน้าความหมายเปลี่ยน เช็กกันดีๆนะ
- 三角形 (sān jiǎoxíng) สามเหลี่ยม หากแปลตรงตัวจะเรียกว่ารูป 3 มุม คนจีนจะใช่ 角 ในการบรรยายอะไรที่เป็นมุมแหลมๆ
- 正方形 (zhèng fāngxíng) / 方形 (fāngxíng) สี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมด้านเท่า จะมีคำว่า 正 หรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีจะเน้นว่าด้านเท่านั้นเอง
- 长方形 (cháng fāngxíng) / 矩形 (jǔxíng) สี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้คำไหนก็ได้ แต่คนมักใช้คำแรกมากกว่า
n边形 เติมตัวเลข ไว้บรรยายรูปหลายเหลี่ยม
ในภาษาไทย เราเรียกรูปทรงต่างๆด้วยเหลี่ยม ตั้งแต่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยมไปเรื่อยๆ แต่ในภาษาจีนจะบรรยายด้วย 边 (biān) ที่แปลว่าด้านแทน โดยจะเริ่มตั้งแต่รูปห้าเหลี่ยมไป หลักการไม่ยาก แต่เอาตัวเลขภาพจีนเติมไว้ข้างหน้าและตามด้วย 边形 ก็จบแล้ว ง่ายกว่าภาษาอังกฤษที่ต้องจำรากละตินเยอะ
- 五边形 (wǔ biānxíng) รูปห้าเหลี่ยม
- 六边形 (liù biānxíng) รูปหกเหลี่ยม
- 七边形 (qī biānxíng) รูปเจ็ดเหลี่ยม
- 八边形 (bā biānxíng) รูปแปดเหลี่ยม
ในบางพื้นที่โดยเฉพาะนอกจีนแผ่นดินใหญ่จะใช้ 角形 (jiǎo xíng) แทน 边形 แต่คำว่า 角形 มักจะสับสนไปเป็นรูปดาวแทน หากได้ยินมา ให้เข็กให้ดีๆ ว่าเข้าใจตรงกันไหมนะครับ เดี๋ยวจะสื่อสารแล้วสับสนแทน
n角星 เติมตัวเลข บรรยายดาวหลายแฉก
ตามที่ก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึง คำที่มีโอกาสสับสนกันไปแล้ว หากต้องการบรรยายจำนวนแฉกของดาวในภาษาจีนให้ชัดเจน เราจะใช้คำว่า 角星 (jiǎo xīng) คำว่า 角 ในภาษาจีนจะหมายถึงมุม และมีความรู้สึกของความแหลมเข้ามาด้วย เมื่อมีคำว่า 星 ที่แปลว่าดาวตามท้าย จึงเป็นการเน้นชัดว่ารูปทรงที่เราพูดคือรูปดาวนะ หลักการใช้ก็เติมตัวเลขข้างหน้า 角星 เหมือนการใช้ 边形 เลย
- 四角星 (sì jiǎo xīng) ดาวสี่แฉก
- 五角星 (wǔ jiǎo xīng) ดาวห้าแฉก
- 六角星 (liù jiǎo xīng) ดาวหกแฉก
- 七角星 (qī jiǎo xīng) ดาวเจ็ดแฉก
- 八角星 (bā jiǎo xīng) ดาวแปดแฉก
其他形状 รูปทรงอื่นๆ ก็มีนะ
มาลองดูรูปทรงอื่นๆ กันบ้างดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- 扇形 (shànxíng) รูปพัด 扇 คือพัดจีน รูปร่างตัดเป็นเสี้ยวคล้ายพัดเลยเรียกตามนี้เลย
- 月牙形 (yuèyáxíng) รูปจันทร์เสี้ยว
- 心形 (xīnxíng) รูปหัวใจ
- 菱形 (língxíng) รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
- 梯形 (tīxíng) รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
- 水滴形 (shuǐdī xíng) รูปหยดน้ำ
- 十字形 (shízì xíng) รูปสัญลักษณ์บวก คนจีนเห็นว่าคล้ายเลขสิบในภาษาจีน 十 เลยนำมาเรียกเป็นรูปทรง
三维形状 รูปทรง 3 มิติ รู้ไว้ บรรยายไม่ยาก
三维形状 (sānwéi xíngzhuàng) รูปทรง 3 มิติ นิยมเรียกอีกอย่างว่า 立体 (lìtǐ) หรือ 立体图 (lìtǐ tú) นอกจาก 宽度 (kuān dù | ความกว้าง) กับ 长度 (cháng dù | ความยาว) ยังต้องมี 高度 (gāo dù | ความสูง) อีกด้วย รูปทรงที่พบได้บ่อยมี
- 圆球 (yuán qiú) ทรงกลม
- 立方体 (lì fāngtǐ) / 正方体 (zhèng fāngtǐ) ทรงลูกบาศก์
- 长方体 (cháng fāngtǐ) ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
- 圆柱体 (yuán zhùtǐ) ทรงกระบอก
- 锥体 (zhuī tǐ) ใช้บรรยายทรงที่มีฐานเป็นรูปทรงอื่น ส่วนปลายเป็นยอดแหลม แบ่งเป็นสองรูปแบบได้แก่
- 圆锥 (yuán zhuī) ทรงกรวย
- 棱锥 (léng zhuī) ทรงพีระมิด สามารถเติมตัวเลขด้านหน้าได้เพื่อบอกว่าฐานเป็นรูปอะไร เช่น
- 三棱锥 (sān léng zhuī) พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
- 四棱锥 (sì léng zhuī) พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม
- 棱柱 (léng zhù) ทรงปริซึม (prism) ภาษาไทยใช้ทับศัพท์จากภาษาอังกฤษเลย คือรูปทรงแท่งที่มีฐานด้านบนและล่างเท่ากัน สามารถเติมตัวเลขด้านหน้าได้เพื่อบอกว่าฐานเป็นรูปอะไร เช่น
- 三棱柱 (sān léng zhù) ปริซีมสามเหลี่ยม
- 四棱柱 (sì léng zhù) ปริซึมสี่เหลี่ยม
- 五棱柱 (wǔ léng zhù) ปริซึมห้าเหลี่ยม
ใช้คำอื่นๆ ช่วยบรรยาย เล่าเรื่องได้ง่ายขึ้น
เรารู้กันแล้วว่ารูปทรงแต่ละอย่างเรียกว่าอะไร แต่คงจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเรานำมาใช้บรรยายไม่ได้ ในชีวิตจริง เราเจอเรื่องรูปทรงตลอดเวลา ถ้าถึงเวลาจริงๆ นึกไม่ออกไม่เป็นไร ลองใช้รูปทรงของสิ่งต่างๆรอบตัวมาช่วยบรรยายก็ได้ และเพื่อความแม่นยำลองใช้คำบอกระดับต่อไปนี้มาช่วยบรรยายเกี่ยวกับรูปร่างดู เช่น
- 稍微 (shāowēi) เล็กน้อย ใช้เพื่อบรรยายว่าอีกนิดนึง มักใช้คู่กับ 一点
- 更…. (gèng) ใช่เพื่อบรรยายว่าต้องการมากขึ้น เช่น 更大 ใหญ่กว่า ใหญ่ขึ้น เป็นต้น
คำคุณศัพท์ที่มักใช้บรรยายขนาด
- 圆 (yuán) กลม
- 短 (duǎn) สั้น
- 长 (cháng) ยาว
- 小 (xiǎo) เล็ก
- 大 (dà) ใหญ่
- 高 (gāo) สูง
- 矮 (ǎi) เตี้ย
ตัวอย่างเช่น เราอยากได้กรอบรูปที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีทอง ลองดูบทสนทนาต่อไปนี้
买家:亲,你有没有金色长方形的相框? mǎi jiā: qīn, nǐ yǒuméiyǒu jīnsè chángfāngxíng de xiāngkuàng? ผู้ซื้อ: ที่รัก1[1] คำว่า 亲 เป็นคำที่นิยมใช้เรียกกันเวลาซื้อของขายของออนไลน์ บางทีก็ใช้คำว่า 亲爱的 แต่ไม่ได้มีความหมายตามตัวจริงๆ แค่ใช้เรียกให้ดูใกล้ชิดกันเฉยๆ ถ้าให้เทียบอาจจะใกล้เคียงกับคำว่า คุณลูกค้า ที่ร้านค้าออนไลน์ในไทยชอบใช้กัน เธอมีกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีทองไหม? 卖家:有的呀,亲。 mài jiā: yǒu deya, qīn. ผู้ขาย: มีค่ะ ที่รัก2[1] คำว่า 亲 เป็นคำที่นิยมใช้เรียกกันเวลาซื้อของขายของออนไลน์ บางทีก็ใช้คำว่า 亲爱的 แต่ไม่ได้มีความหมายตามตัวจริงๆ แค่ใช้เรียกให้ดูใกล้ชิดกันเฉยๆ ถ้าให้เทียบอาจจะใกล้เคียงกับคำว่า คุณลูกค้า ที่ร้านค้าออนไลน์ในไทยชอบใช้กัน 买家:这个相框长宽多少厘米呢? mǎi jiā: zhè ge xiāngkuàng chángkuān duōshǎo límǐ ne? ผู้ซื้อ: กรอบรูปชิ้นนี้ ขนาดกว้างยาวกี่เซ็นคะ? 卖家:宽 10 厘米,长 16 厘米啊。 mài jiā: kuān 10 límǐ, cháng 16 límǐ a. ผู้ขาย: กว้าง 10 เซ็น ยาว 16 เซ็นค่ะ 买家:有稍微大一点吗? mǎi jiā: yǒu shāowēi dà yìdiǎn ma? ผู้ซื้อ: มีใหญ่กว่านี้อีกนิดไหมคะ? 卖家:有, 宽 14 厘米,长 20 厘米的。 mài jiā: yǒu, kuān 14 límǐ, cháng 20 límǐ de. ผู้ขาย: มีค่ะ กว้าง 14 เซ็น ยาว 20 เซ็น
จากบทสนทนา จะเห็นได้ว่ามีการบรรยายกันเพื่อให้ได้ขนาดที่ต้องการ ยังไงลองเอาไปปรับใช้กันดูนะครับ
จบกันไปแล้วกับเรื่องรูปทรง เห็นไหมว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด (รึเปล่า?) ตกหล่นรูปทรงไหนไปยังไงเข้ามาบอกกันได้นะครับ หรือใครมีประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับเรื่องบรรยายรูปทรงเข้ามาแชร์กันได้เลย
ติดตามเรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีน มาคุยกันได้ที่