how ancient Chinese count time

时 มันใหญ่ เลยเรียก 小时 ให้เล็กๆ | ประวัติการนับเวลาแบบจีนๆ 时辰和小时

สั่นๆ เผื่อรีบแชร์
เดิมจีนมีการแบ่งเวลาเป็น 12 ส่วน เรียกว่า 时辰 (shíchén) ต่อมาได้มีการแบ่งครึ่งอีกในช่วงปลายราชวงศ์ถังต้นราชวงศ์ซ่ง(末唐初宋)และเรียกส่วนที่แบ่งแต่ละส่วนว่า 小时 ( xiǎoshí | ชั่วโมง) พอได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก เลยเอาคำนี้มาใช้เลย
แต่ถ้าอยากรู้ที่มีที่ไปมากกว่านี้ต้องอ่านต่อแล้วล่ะ

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมคำว่า “ชั่วโมง” ในภาษาจีนถึงเรียกว่า 小时 (xiǎoshí) หากจะแปลตรงตัว 小 เนี่ยก็สามารถแปลว่าเล็กได้ 时 ก็สามารถแปลว่าช่วงเวลา ชั่วโมง หรือ ชั่วยามก็ได้ ถ้าดูความหมายในเชิงนี้ก็คงงงว่าทำไมต้องมีคำว่าเล็กอยู่ด้วย ทำไมไม่เรียก 时 เฉยๆ สร้างภาพเล่าเรื่อง 图图是道 จะมาสรุปให้อ่านกัน อย่าชักช้า เข้าเรื่องเลยละกัน

เดิมจีนแบ่ง 1 วันเป็น 12 时辰

แรกเริ่มเดิมที่จีนมีระบบการนับเวลาเป็นของตัวเองมาตั้งแต่โบราณ ในบันทึกชื่อ 左传 1左传 (Zuǒ zhuàn) คือบันทึกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ การเมือง การฑูต การทหารและสภาพสังคม วัฒนธรรมต่างๆ ในช่วง 春秋战国 (Chūnqiū Zhànguó) ความยาว 30 บท อ่านเพิ่มเติม https://en.wikipedia.org/wiki/Zuo_zhuan (Zuǒ zhuàn) ช่วงสมัยชุนชิว (春秋战国 | Chūnqiū Zhànguó) ได้มีการกล่าวถึงการแบ่งเวลาของจีนในสมัยนั้น โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 12 ส่วน เรียกว่า 时辰 (shíchén) ในหนังจีนที่มาฉายในไทยมักจะใช้คำว่า ชั่วยาม หากเราเทียบกับเวลาปัจจุบัน 1 时辰 จะประมาณ 2 ชั่วโมง โดยการนับเวลาแบบนี้มักดูด้วยนาฬิกาแดดและนาฬิกาด้วยธูป 

แต่ละช่วงเวลานี้ก็มีชื่อเรียก ในช่วงแรกๆ จะเรียกแต่ละช่วงตามเหตุการณ์ที่จะเกิด จนต่อมา ได้เปลี่ยนมาใช้ 地支 2天干地支 ( tiāngāndìzhī) คือระบบเลขฐาน 60 ซึ่งไล่ประวัติไปได้ถึงสมัยราชวงศ์`ซาง (商代 Shāng dài) ราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีได้มีการบันทึกในปัจจุบัน เป็นตัวเลขอักษรจีนวนรอบ ประกอบดัวย 2 ส่วน 天干 tiāngān ภาคสวรรค์ 10 ตัวอักษร และ 地支 dìzhī ภาคปฐพี 12 ตัวอักษร ใช้ในการนับวันและปีแบบดั้งเดิม หากเคยได้ยิน ปีนักษัตรหมูทอง ก็ไล่มาจากระบบนี้ 干支 เป็นหลักสำคัญในโหราศาสตร์จีน และ ยังใช้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกอื่นๆ ด้วยเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 干支 ได้ที่: https://th.wikipedia.org/wiki/แผนภูมิสวรรค์ (dìzhī) ก้านดิน มาเรียกเวลาต่างๆแทน เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันกับการนับปฎิทิน วัน เดือน ปี ด้วย 天干地支 (tiāngāndìzhī) ดังนี้

ภายหลังในช่วงราชวงศ์ถังมีการแก้ไขเวลาโดยเลือกถอยหลังมาหนึ่งชัวโมง 子时 จากเป็น 00:00 – 02:00 เป็น 23:00 – 01:00 ไล่ไปเรื่อยๆ ครับ

เวลาช่วงปรับโดยราชวงศ์ถังเวลาช่วงก่อนราชวงศ์ถังคำเรียกเริ่มแรกคำเรียกต่อมา
23:00 – 01:0000:00 – 02:00夜半 ( bànyè | แปลว่าเที่ยงคืน)子时 (zǐshí | ยาม,จื่อ)
01:00 – 03:0002:00 – 04:00鸡鸣 (jīmíng | ไก่ขัน)丑时 (chǒushí | ยาม`โฉ่ว )
03:00 – 05:0004:00 – 06:00平旦 (píngdàn | เช้ามืดก่อนอาทิตย์ขึ้น)寅时 (yǐn shí | ยามหยิ่น )
05:00 – 07:0006:00 – 08:00日出 (rìchū | ช่วงพระอาทิตย์ขึ้น)(卯时 mǎoshí | ยามเหม่า )
07:00 – 09:0008:00 – 10:00食时 (shíshí | ช่วงทานข้าวเช้า) 辰时 (chénshí | ยาม`เฉิน )
09:00 – 11:0010:00 – 12:00隅中 (yúzhōng | ใกล้เที่ยง)巳时 (sìshí | ยาม,ซื่อ)
11:00 – 13:0012:00 – 14:00日中 (rìzhōng | เที่ยงวัน)午时 (wǔshí | ยามหวู่)
13:00 – 15:0014:00 – 16:00日昳 (rìdié | แดดคล้อย)未时 (wèishí | ยามเว่ย)
15:00 – 17:0016:00 – 18:00晡时 (būshí | เวลาอาหารเย็น)申时 (shēnshí | ยาม`เซิน)
17:00 – 19:0018:00 – 20:00日入 (rìrù | พระอาทิตย์ตก)酉时 (yǒushí | ยาวโหย่ว)
19:00 – 21:0020:00 – 22:00黄昏 (huánghūn | พลบค่ำ)戌时 (xūshí | ยามซวี)
21:00 – 23:0022:00 – 00:00人定 (réndìng | คนนิ่ง)亥时 (haìshí | ยามฮ่าย)
ตารางเปรียบเทียบการแบ่งการนับเวลาของคนจีนโบราณ ทั้งช่วงก่อนราชวงศ์ซ่ง และ ช่วงที่ราชวงศ์ซ่งปรับเวลาแล้ว

刻 ระบบคู่ 时辰 ช่วยนับเวลาละเอียดขึ้น

การนับเวลาของจีนนอกจาก 12 时辰 แล้ว ยังมีอีกระบบที่ต้องใช้ควบคู่กันมาตลอด นั่นคือระบบ 刻 (kè) คือระบบที่แบ่งวันออกเป็น 100 ส่วน ในตอนเริ่ม แต่ก็เป็นหนึ่งในระบบที่มีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงมาตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศจีน เนื่องจากหารไม่ลงตัวกับ 12 时辰 สักที จนมาจบที่ช่วงราชวงศ์ชิงที่กำหนดให้ 1 วัน มีทั้งหมด 96 刻 ซึ่งทำให้ 1 刻 จะเท่ากับ 15 นาทีโดยประมาณ นาฬิกาที่นิยมใช้กับระบบนี้คือ นาฬิกาน้ำ และ นาฬิกาแดด

การบอกเวลาโดยใช้บอกเวลาด้วย 时辰 และ 刻 นั้นจะใช้คู่กัน 1 时辰 จะเท่ากับ 8 刻 โดยประมาณ การอ่านให้บอก 时辰 ก่อนแล้วตามด้วยว่ากี่ 刻 แล้ว เช่น 亥三刻 (hàisānkè)

ระบบการนับเวลาของจีนโบราณ ยังมีอีกระบบใหญ่ที่นับควบคู่ซ้อนทับกันอีกระบบคือ 更点 (gēng diǎn) นิยมใช้นับช่วงกลางคืนเพื่อบอกการเปลี่ยนเวรยามของทหาร โดย 更 จะใช้ 天干 3天干地支 ( tiāngāndìzhī) คือระบบเลขฐาน 60 ซึ่งไล่ประวัติไปได้ถึงสมัยราชวงศ์`ซาง (商代 Shāng dài) ราชวงศ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีได้มีการบันทึกในปัจจุบัน เป็นตัวเลขอักษรจีนวนรอบ ประกอบดัวย 2 ส่วน 天干 tiāngān ภาคสวรรค์ 10 ตัวอักษร และ 地支 dìzhī ภาคปฐพี 12 ตัวอักษร ใช้ในการนับวันและปีแบบดั้งเดิม หากเคยได้ยิน ปีนักษัตรหมูทอง ก็ไล่มาจากระบบนี้ 干支 เป็นหลักสำคัญในโหราศาสตร์จีน และ ยังใช้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกอื่นๆ ด้วยเช่นกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 干支 ได้ที่: https://th.wikipedia.org/wiki/แผนภูมิสวรรค์ (tiāngān) กิ่งสวรรค์ ในการแบ่งวันออกเป็น 10 ส่วน กลางคืน 5 ส่วน กลางวัน 5 ส่วน และ 点 ใช้แบ่งวันออกเป็น 60 ส่วน ใช้บอกคู่กัน

ระบบการนับเวลาใช้มาอย่างยาวนานและมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเรื่อยๆ จนถึงราชวงศ์ชิง และแทนที่ด้วยระบบของตะวันตกในภายหลัง

天干 ปัจจุบันก็ใช้นับอย่างอื่นเหมือนกัน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


时辰 มันใหญ่ไป แบ่งให้เล็กๆ เรียก 小时 แล้วกัน

ในเมื่อจีนแต่เดิมก็ใช้ระบบ 时辰 ซึ่งมีแค่ 12 ส่วน แล้วมาเป็น 24 ส่วน แบบตะวันตกได้ยังไง เรื่องนี้จริงๆ ก็มีมาตั้งแต่ปลายราชวงศ์ถังต้นราชวงศ์ซ่ง(末唐初宋)การแบ่ง 时辰 นั้นยังยาวไป ได้ถูกแบ่งครึ่งอีก จะเรียกส่วนแรกว่า 初 (chū)และเรียกส่วนหลังว่า 正 (zhèng) คนจึงเริ่มเรียกการแบ่งครึ่งแบบนี้ว่า 小时 ( xiǎoshí | ชั่วโมง) เพื่อไม่ให้สับสนกับ 时辰 

ประกอบกับเทคโนโลยีการทำนาฬิกาแบบตะวันตกเริ่มเข้ามาสู่จีน ช่วงปี ค.ศ. 1583 หนึ่งในคนที่นำเข้ามาคือ บาทหลวงชาวอิตาลีเมทเทโอ ริชชี่ (Matteo Ricci) ได้นำนาฬิกามาดัดแปลงให้เข้ากับระบบของจีน และให้เป็นของขวัญแก่เจ้าเมืองผู้ปกครองกว่างตง(广东 Guǎngdōng)ในช่วงเวลานั้น นาฬิการูปแบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูง และเริ่มมีการใช้ตามรูปแบบของตะวันตกมากขึ้น


บาทหลวงชาวอิตาลีเมทเทโอ ริชชี่ (Matteo Ricci) ยังเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เขียนตำราการเทียบเสียงภาษาจีนด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่


ปี ค.ศ. 1809 徐朝俊 (Xú Cháojùn) ช่างนาฬิกาชื่อดังสมัยราชวงศ์ชิง ได้เขียนหนังสือ 《自鸣钟表图法》(zì míng zhōng biǎo tú fǎ | แผนภาพนาฬิการ้องเอง) สรุปเทคโนโลยีการสร้างนาฬิกาแบบต่างๆ ช่วงปลายหมิงต้นชิง ในหนังสือพูดถึงการแบ่งเวลาออกเป็น 24 ชั่วโมง และเริ่มแพร่หลาย ประกอบกับการพัฒนาทางสังคมและวิทยาการในรูปแบบสมัยใหม่ ซึ่งมีเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกเป็นฐาน ทั้งระบบการศึกษา ธนาคาร และสิ่งต่างๆ จนระบบการนับเวลาแบบตะวันตกเข้ามาแทนที่ในที่สุด และปรับเปลี่ยนให้เป็นสากลอย่างในปัจจุบัน

ผลพวงจากการนับเวลาแบบเดิมจึงต้องตั้งคำต่างๆ เพื่อป้องกันการสับสนกับระบบเดิม ตั้งแต่นั้นก็เลยเรียก 小时 เป็นต้นมา และคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกเวลาก็ปรับเปลี่ยนมาตามนี้

  • 时辰 ใช้เรียกชั่วยามแบบเดิม เท่ากับ 2 ชั่วโมง
  • 刻 ใช้เรียกแทน 15 นาทีไปเลย
  • 分钟 ( fēnzhōng ) เพิ่มคำว่า 钟 นาฬิกา ใช้เรียกเเทนนาที เพื่อกันการสับสน เดิมมีระบบแบ่งเหมือนกัน เรียกแค่ 分 แบ่งวันออกเป็น 6000 ส่วน
  • 秒 ( miǎo ) ใช้เรียกวินาทีแทน จากเดิมใช้ซอยย่อย 分 ออกเป็นอีก 100 ส่วน

จากการเข้ามาของจักรวรรดินิยมตะวันตกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างมาตรฐานใหม่ๆระดับสากลอยู่หลายเรื่องในจีน เรื่องของการนับเวลาก็เป็นเรื่องหนี่งเช่นกัน ปัจจุบันระบบ 时辰 ยังมีการใช้อยู่ควบคู่กับปฎิทินจีน และมักจะใช้ในทางโหราศาสตร์ดูดวงมากกว่า

ส่วนคราวหน้าจะมีต่อกันเรื่องอะไรอย่าลืมติดตามกันไว้นะ


ติดตามเรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีน มาคุยกันได้ที่


อ้างอิง

ภาพจาก

Author

  • Game 黄俊宏

    กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

    View all posts