สงสัยกันมั้ย อ่านบทความก็อ่านไปหาศัพท์ไปเฉยๆ ป่ะ จะมีอะไรฝึกได้มากกว่านี้อีก
จะบอกว่ามีครับ นี่เป็นเทคนิคส่วนตัวของเกมเลยที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ และแค่ความแตกต่างบางอย่างมันทำให้การอ่านไปแล้วเจอศัพท์ที่ไม่รู้ก็เปิดดิกมันทีมันต่างกันไปคนละเรื่องเลย
เข้าใจกันก่อนว่าเราใช้ภาษาในความเป็นจริงยังไง
เคยมั้ยเวลาเราเจอคนจีนมาพูดกับเรา แล้วเขาพูดประโยคที่มีคำที่เราไม่รู้ เช่น
คนจีน: 你可以点xx的菜吗?我不能吃辣。(Nǐ kěyǐ diǎn xx de cài ma? Wǒ bù néng chī là. | คุณสามารถสั่งอาหาร xx ได้ไหม? ฉันกินเผ็ดไม่ได้)
สมมติว่าคุณไม่รู้คำว่า “xx” ล่ะ? 🌶️🙅♂️
กระบวนการแรกที่เกิดคือ “การเดา”
คุณอาจจะงงนิดหน่อย แต่จากคำว่า “菜” (อาหาร) และประโยค “我不能吃辣” (ฉันกินเผ็ดไม่ได้) คุณก็พอเดาได้แล้วว่าเขาน่าจะกำลังถามหาอาหารที่ไม่เผ็ดหรือเผ็ดน้อยแน่ๆ
แล้วเราก็อาจจะถามต่อให้แน่ใจ เขาก็จะอธิบายเพิ่มเติม ตรงนี้คือ “การหาข้อมูลที่ถูก”
การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารมันก็ประมาณนี้เลยครับ จุดสำคัญคือ “การเดา” และ “การหาข้อมูลที่ถูก”
เดาก่อนเพื่อให้สมองได้ลองฝึก และค่อยมาหาข้อมูลว่าที่เราเดามันถูกไหม ซ้ำไปมา นานๆเข้าก็จะเริ่มเกิดเป็น เซนส์ทางภาษา เพราะเริ่มเดาได้ถูกต้องมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วเราจะเอาเทคนิคนี้มาใช้กับการเรียนด้วยตัวเองยังไงล่ะ? มาดูกัน! 👀
🔥 เทคนิคอ่านจีน 3 รอบสไตล์ Tutu 🔥
รอบที่ 1 | ให้ลุยเหมือนคนไม่รู้อะไร
ในรอบแรกเราอยากจะจำลองสถานการณ์ให้เหมือนตัวอย่างที่ยกมาก่อนหน้านี้ว่าเราต้องเจอกับของจริง รอบแรกเราจะ:
- ถ้ามีคลิปเสียง ลองฟังดูก่อน แต่ห้ามเปิดดิกเด็ดขาด! พยายามจับใจความให้ได้มากที่สุด
- จดสั้นๆ ว่าฟังแล้วเข้าใจอะไรบ้าง ไม่ต้องกลัวผิด เราแค่ฝึกสมองให้ทำงาน
- ทีนี้ลองอ่านบทความภาษาจีนดูบ้าง ยังห้ามเปิดดิกหรือใช้โปรแกรมแปลนะ
- ระหว่างอ่าน ให้ขีดเส้นใต้หรือวงกลมคำที่ไม่รู้ความหมายเอาไว้
- พออ่านจบ ลองเขียนสรุปสั้นๆ ว่าเข้าใจอะไรบ้าง แล้วเก็บไว้เทียบกับรอบหน้า
- ถ้าอยากฝึกฟังด้วย ลองฟังพร้อมอ่านอีกรอบก็ได้นะ
รอบที่ 2 | เปิดดิกก่อน แล้วอ่านใหม่
เมื่อเขียนสรุปในรอบที่ 1 แล้ว
- คราวนี้ เปิดดิกหาความหมายคำที่เราขีดเส้นใต้ไว้ในรอบแรกได้เลย
- พอรู้ความหมายแล้ว ลองอ่านบทความอีกครั้ง คุณจะรู้สึกว่าเข้าใจมากขึ้นแน่ๆ
- เขียนสรุปรอบ 2 เก็บไว้ แล้วลองเทียบกับรอบแรกดู ต่างกันแค่ไหน
- อย่าลืมจดศัพท์ใหม่ที่ได้เรียนรู้ด้วยนะ นี่แหละคลังศัพท์ส่วนตัวของเราเลย
รอบที่ 3 | อ่านจีนซ้ำอีกรอบ และ เทียบกับแปลไทย
- ถ้ามีบทความแปลไทย ลองเทียบดูว่าที่เราเข้าใจมาตลอดถูกต้องไหม
- อ่านบทความภาษาจีนอีกครั้ง คราวนี้คุณจะรู้สึกคล่องและเข้าใจทั้งหมดขึ้นเยอะเลย
- สังเกตว่ามีส่วนไหนที่เราเข้าใจผิดหรือตีความผิดไปบ้าง เรียนรู้จากจุดนี้
แล้วหาบทความจีนที่มีแปลไทยด้วยได้ที่ไหน?
มาขนาดนี้แล้ว ขายโครงการเลยละกัน 555 หาบทความหรือข่าวภาษาจีนทั่วไปก็คงไม่ได้มีส่วนนี้ให้
Tutu เลยจัดโครงการ TUTUฝึกจีน30วัน ซีซั่น 3 Presented by BullVPN ในโครงการนี้ เรามีครบ:
- บทความจีนสนุกๆ ที่เขียนใหม่เพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ 📖
- คลิปเสียงคุณภาพดี อ่านชัดถ้อยชัดคำ 🎧
- พินอินครบทุกคำ สำหรับคนที่ยังอ่านตัวจีนไม่คล่อง 🔤
- คำแปลภาษาไทยที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่แปลตรงตัวจนเยิ่นเย้อ 🇹🇭
และที่เด็ดสุด! ปีนี้มีแพ็กเกจ “คนขยัน” ด้วยนะ 💪 ในนี้มี PDF พิเศษให้กรอกตามขั้นตอนที่เล่าไปด้วย ใครอยากฝึกจริงจังต้องลอง!
นอกจากนี้ยังมี:
- แบบฝึกหัดท้ายบท ให้ได้ทบทวนความเข้าใจ
- เฉลยละเอียด ให้เช็คคำตอบได้ด้วยตัวเอง
- ปฏิทินฝึกภาษาจีน 30 วัน ให้ฝึกอย่างมีแผน
- กลุ่มแชทเฉพาะระดับ ให้ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมชั้น
สนใจยัง? โครงการนี้จะเริ่มเร็วๆ นี้แล้วนะ:
- 1 ต.ค. สำหรับระดับต้น
- 2 ต.ค. สำหรับระดับกลาง
- 3 ต.ค. สำหรับระดับสูง
ใครอยากได้สิทธิพิเศษและส่วนลดพิเศษ รีบสมัครก่อน 30 ก.ย. นี้นะ 😘
แล้วเจอกัน 1 ต.ค. นี้! ไปฝึกภาษาจีนด้วยกัน ให้เก่งขึ้นแบบว่าสุดๆ กันเลย! 🚀🇨🇳
ขอขอบคุณสปอนเซอร์ใจดีที่ช่วยให้มีบทความฟรีให้คนไทยได้ฝึกภาษาจีนกันด้วยนะครับ