How these planets were called in Ancient Chinese

ครั้งนึงภาษาจีนเคยเรียกดาวเหล่านี้ด้วยพฤติกรรมบนฟ้า

ดาวในระบบสุริยะ เราคุ้นเคยกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษกันว่าดาวแต่ละดวงได้ตั้งชื่อตามเทพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อจุดประสงค์ในการยกย่องสรรเสริญเทพเจ้า หรือ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียกก็ตาม แต่ในภาษาจีนไม่ได้มีแนวคิดแบบนั้น ได้มีการเรียกทั้งเพื่อโหราศาสตร์แบบดั้งเดิม และ ดาราศาสตร์สมัยใหม่ให้งงกันหลายตลบ

ย้อนกลับไปสมัยโบราณดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มองเห็นได้บนท้องฟ้าด้วยตาเปล่า นอกจากดวงจันทร์แล้วก็มีเพียงแค่ 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสฯ และ ดาวเสาร์ ชื่อในยุคแรกเริ่ม จึงถูกตั้งด้วยลักษณะและพฤติกรรมของดาวที่สังเกตได้บนท้องฟ้า

太白 ชื่อเดิมดาวศุกร์ สว่างสุกสกาว

太白 tài bái แปลตรงตัวคือขาวมาก คือชื่อเรียกดาวศุกร์ ด้วยลักษณะที่ส่องแสงสุกสกาวบนท้องฟ้า สังเกตได้ง่าย แต่จะโผล่เเค่ช่วงหัวค่ำ และ ก่อนรุ่งสาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อในภาษาไทยว่า ดาวประจำเมือง และ ดาวประกายพรึกเช่นกัน

岁星 ชื่อเดิมดาวพฤหัสฯ นับรอบนักษัตรจีน

岁星 suì xīng แปลตรงตัวคือ ดาวอายุ เป็นเชื่อเรียกของดาวพฤหัสฯ เนื่องจากรอบโคจรที่สังเกตได้บนท้องฟ้าจะอยู่ที่เกือบๆ 12 ปี ถึงจะวนกลับมาที่เดิม ซึ่งเหมาะสมมากที่จะใช้ในการนับรอบนักษัตรของจีน จึงถูกใช้เป็นตัวแทนของการนับรอบปฏิทินจีน

辰星 ชื่อเดิมดาวพุธ ซุกชน ผลุบๆโผล่ๆ

辰星 chén xīng แปลได้ประมาณว่า ดาวชั่วยาม ใช้เพื่อเรียกดาวพุธ ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อมองจากโลกจึงเห็นการโคจรเดี๋ยวโผล่ไปทางนั้นทีทางนี้ทีเหมือนเคลื่อนที่อยากรวดเร็วข้ามท้องฟ้า[1] ความพิเศษคือตำแหน่งที่ปรากฎบนฟ้าของดาวพุธ ด้วยการปรากฎบนท้องฟ้าและปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว จึงใช้เป็นส่วนสำคัญในการนับเวลาแบบจีน 时辰 shíchén 1ชั่วยาม ประมาณ 2 ชั่วโมง จึงถูกเรียกว่า 辰星 นั่นเอง

荧惑 ชื่อเดิมดาวอังคาร สีแดง โคจรประหลาด

荧惑 yíng huò เป็นชื่อใช้เรียนดาวอังคารเดิม บนท้องฟ้า นอกจากดาวอังคารเป็นหนึ่งในไม่กี่ดวงที่มีสีแดงที่ให้ดูน่ากลัวแล้ว ดาวอังคารเป็นดาวที่สังเกต Retrograde หรือ การโคจรถอยหลัง[2] ได้ง่ายที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่คนโบราณเข้าใจได้ยาก ดาวอังคารจึงเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งไม่ดี เป็นที่มาของชื่อนี้

镇星 ชื่อเดิมดาวเสาร์ คุ้มกัน 28 หมู่ดาวจีน

镇星 zhèn xīng ชื่อโบราณใช้เรียกดาวเสาร์ คนจีนโบราณมีการแบ่งดาวบนท้องฟ้าเป็น 28 กลุ่ม (二十八宿 èr shí bā xiù [3]) ซึ่งการโคจรจนครบรอบของดาวเสาร์จะอยู่ที่ประมาณ 29 ปี คนจีนโบราณเห็นว่าใกล้เคียงกัน จึงมองเหมือนดาวเสาร์เหมือนดาวคุ้มกัน (镇守 zhèn shòu) จึงได้ชื่อ 镇星 มา

ในปัจจุบันได้มีการเรียกชื่อดาวเหล่านี้ใหม่ตามนี้

  • 水星 shuǐ xīng ดาวพุธ
  • 金星 jīng xīng ดาวศุกร์
  • 火星 huǒ xīng ดาวอังคาร Mars
  • 木星 mù xīng ดาวพฤหัสบดี
  • 土星 tǔ xīng ดาวเสาร์

ส่วนมีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเปลี่ยน แถมยังไปเกี่ยวข้องถึงเซเลอร์มูนได้อีกต่างหาก เรื่องราวจะไปไงมายัง เดี๋ยวมาต่อกันในตอนหน้านะ อย่าลืมติดตามกันไว้จะได้ไม่พลาด

ทางไปติดตาม


เพิ่มเติม

[1] การเคลื่อนที่ของดาวพุธตามคำอธิบาย จึงถูกตั้งเป็นตัวแทนของเทพ Hermes ซึ่งคือ Mercury ในภาษาของโรมัน

[2] Retrograde ปรากฎการณ์บนฟ้าที่เห็นดาวเดินถอยหลังบนฟ้าที่มองจากพื้นโลกเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าวจะโคจรกลับมาเหมือนเดิม เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดจากเมื่อโลกโคจรแซงดาวนั้นๆ ทำให้เกิดการมองเห็นเหมือนดาวเดินถอยหลังจากพื้นโลก ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Retrograde ได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=FtV0PV9MF88

[3] อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 二十八宿 èr shí bā xiù ได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/ดาวนักษัตรแบบจีน

Author

  • Game 黄俊宏

    กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

    View all posts