แต่งประโยคภาษาจีนให้ปัง ลองแปลตรงตัวดูสิ เดี๋ยว!? ยังไง!

คอนเทนท์นี้บอกเลย เสี่ยงโดนเหล่าซือตีหัวมาก 🤣

ปกติเราจะเจอเหล่าซือบอกตลอดว่า “อย่าแปลตรงตัว” เพราะมันทำให้เราไม่เข้าใจภาษา แต่วันนี้จะมาให้ลองท้าทายดูด้วยเทคนิค “แปลตรงตัว” นี่แหละ จะทำให้เข้าใจภาษาจีนได้ดีขึ้น 😘  🀄️📝

คืองี้ เทคนิค “แปลตรงตัว” เราจะเอามาใช้วิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจภาษาจีนกันโดยแปลจากจีน 🇨🇳 มาเป็นไทย 🇹🇭 เนี่ยแหละ

ปัญหาที่เจอเวลาเรียนจีนคือ 🤔 

เวลาแต่งประโยคภาษาจีนทีไรมันชอบฟังดูแปลกๆ อ่านแล้วยังไงก็ดูเป็นไวยากรณ์ภาษาไทยแค่เขียนเป็นอักษรจีนเท่านั้น ยิ่งคนที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนภาษาจีน เรียงยังไงก็เรียงผิดประจำ ดูอย่างเช่นประโยคนี้สิ

📌 ตัวอย่างที่คนเริ่มต้นเรียนจีนมักแต่งประโยคกัน

🇹🇭 ภาษาไทย: ฉันชอบกินแอปเปิ้ลที่คุณปู่ซื้อจากตลาดเมื่อวาน
🇨🇳 ภาษาจีนที่เราแต่ง: 我喜欢吃爷爷买的苹果在市场昨天
💬 (Wǒ xǐhuān chī yéyé mǎi de píngguǒ zài shìchǎng zuótiān)

แล้วมันผิดตรงไหน?

คืองี้ ไวยากรณ์ของภาษาจีนจะมีการเรียงที่แตกต่างจากภาษาไทยอยู่หลายส่วน

  1. ภาษาจีนคำขยายจะอยู่ข้างหน้า ภาษาไทยคำขยายจะอยู่ข้างหลัง เช่น หมาดำ ภาษาจีนจะเป็น ดำหมา (黑狗 | hēigǒu)
  2. สถานที่และเวลาโดยส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงต้นๆ ของประโยค

ประโยคที่ถูกเลยจะเป็น

🇨🇳 我喜欢吃爷爷昨天在市场买的苹果。
💬 (Wǒ xǐhuān chī yéyé zuótiān zài shìchǎng mǎi de píngguǒ.)

แค่นี้ก็พอจะเห็นเลยว่าเป็นประโยคไทยในร่างภาษาจีนชัดๆ เลย 😂 แบบนี้พูดไปนานๆ ติดเป็นนิสัยขึ้นมา จะพัฒนาภาษาจีนก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ 🤦

😎 งั้นจะแก้ยังไงดีล่ะ?

วันนี้มีเทคนิคที่ง่ายๆ แต่ใช้ได้จริงมาบอกต่อ นั่นก็คือ “การแปลตรงตัว” นั่นแหละ เหมาะมากสำหรับผู้เริ่มเรียนเลย อ่ะ อย่าเพิ่งตกใจไป 🤣

🤔 จะบอกว่ามันช่วยให้เราเห็นภาพรวมโครงสร้างของภาษาจีนได้มากๆ เลย เพราะเราชำแหละผ่ามันออกมาทีละคำ (นึกว่าผ่าตัด 😂) มาลองดูดีกว่าว่าทำยังไงบ้าง

✨ ขั้นตอน แปลตรงตัวชำเเหละประโยคจีน ✨

1. เลือกประโยคจีนที่อยากเรียนรู้ซักประโยค เช่น 我昨天买的苹果很好吃 (Wǒ zuótiān mǎi de píngguǒ hěn hàochī)

2. จับแปลคำต่อคำเป็นไทยเลย ไม่ต้องสนใจไวยากรณ์ไทย แฃ้ง สังเกตดูว่าประโยคจีนเรียงคำต่างจากไทยตรงไหนบ้าง: ฉัน / เมื่อวานนี้ / ซื้อ / คำบ่งชี้ความเป็นเจ้าของ / แอปเปิล / อร่อยมาก

อย่างตัวอย่างนี้ในภาษาจีน เวลา (เมื่อวานนี้) มาหลังประธาน (ฉัน) | แต่ไทยชอบเอาไปไว้ท้ายประโยค ในจีน คำบ่งชี้เจ้าของ (的 / de) หน้าคำนาม (แอปเปิล) | ไทยดันเอาคำว่า “ที่” มาใส่ข้างหลังซะงั้น 😅

    3. ลองเขียนประโยคจีนเอง ตามโครงสร้างที่เพิ่งได้เรียนรู้ ยกตัวอย่างก็ 我今天吃的面条很好吃 (Wǒ jīntiān chī de miàntiáo hěn hàochī)แปลว่า “บะหมี่ที่ฉันกินวันนี้อร่อยจัง” แค่นี้เอง

    4. เช็คความหมายคำศัพท์ กับบทบาทในประโยคด้วยนะมีคำไหนไม่รู้ละก็ เปิดดิกชันนารีช่วยเลย 📙 ประโยคสั้นๆ เปิดไปทุกคำก็ได้ไม่เยอะขนาดนั้น

    เห็นมั้ยล่ะ แค่แปลตรงตัว ชำแหละประโยคออกมาแล้วก็เห็นภาพแล้วว่าโครงสร้างการเรียงคำพื้นฐานในจีนเป็นยังไง⚡ พอฝึกไปเรื่อยๆ สมองจะซึมซับเอง คิดเป็นแบบฉบับจีนขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว แถมไม่ติดกับดักโครงสร้างภาษาไทยอีกด้วยแหละ เย้ 🙌

    📌 และสำคัญที่สุดที่เหล่าซือทุกคนบอกว่าอย่าแปลตรงตัวคือ อย่าแปลไทยตรงๆไปจีน คนจีนไม่รู้เรื่อง แต่เอามาใช้วิเคราะห์เพื่อฝึกแบบนี้แหละครับ

    😎 แปลตรงตัวมีข้อจำกัดเหมือนกัน โดยเฉพาะสำนวนจีนแปลกๆ หรืออย่างไวยากรณ์ระดับสูงๆ บางทีก็อาจจะงงๆ หน่อย ต้องใช้เวลาฝึกซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ กับลองเปรียบเทียบกับงานแปลจากมืออาชีพดู จะทำให้พัฒนาฝีมือได้ดีขึ้นแน่นอน

    เป็นไงบ้าง มีอะไรสงสัยคอมเมนท์มาได้เลย หวังว่าเทคนิคนี้จะช่วยให้ทุกคนเรียนจีนเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม แล้วก็อย่าลืมเอาไปลองใช้ดู มาเล่าให้ฟังด้วยล่ะว่าไปเป็นไง ไปได้ผลบ้างมั้ย 😁

    💬ใครมีเจอปัญหาอะไรเวลาแต่งประโยคภาษาจีนอีกบ้าง คอมเมนท์มาหน่อย~

    ติดตาม Tutustory 图图是道 เรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่

    Author

    • Game 黄俊宏

      กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

      View all posts