ดาวหางที่ว่าโรแมนติก ทำไมขอพรแล้วไม่เคยสมหวังสักที? : ดาวหางฮัลเลย์กับมุมมองวัฒนธรรมจีน (在中国文化中的哈雷彗星) 

“และมีดาวหางดวงหนึ่งที่ยังโคจรในอวกาศ…” ท่อนหนึ่งของเพลงที่ฮิตในช่วงนี้นี้ให้เราเห็นว่า หลายคนมองดาวหางฮัลเลย์ว่าโรแมนติกไปแล้ว แต่ก็เป็นแค่มุมมองของคนปัจจุบันเท่านั้น เพราะถ้าเป็นสมัยก่อนแล้วล่ะก็ว้าวุ่นแน่นอน เพราะพวกเขาไม่ได้มองว่าโรแมนติกเลย แต่มองว่าเป็นสัญญาณของหายนะที่จะมายังบ้านเมืองต่างหาก อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้พูดถึงในมุมมองของคนไทย แล้วคนจีนล่ะ? พวกเขามองดาวหางฮัลเลย์อย่างไร ตามมาอ่านกันครับ

From song to belief that ramantize the comet

ดาวหางฮัลเลย์ ตัวแทนสุดโรแมนติกของวัฒนธรรมสมัยใหม่ทั้งไทยและจีน

ทุกวันนี้ดาวหางฮัลเลย์ (Halley’s Comet) ถูกมองว่าเป็นตัวแทนของความรักที่อาจจะฟังดูโรแมนติกยิ่งกว่าพระจันทร์ เพราะในขณะที่ดวงจันทร์ลอยล่องอยู่บนท้องฟ้าในยามค่ำคืนให้เราได้เห็นเกือบทุกวัน ดาวหางฮัลเลย์นั้นเดินทางไปไกลหลายล้านกิโลเมตรและวนกลับมาที่เดิม ราวกับได้ทำพันธสัญญากับโลกใบนี้ว่าจะกลับมาหาทุกๆ 75 ปี เลยทำให้วัยรุ่นมองว่าเหมือน “ความรักที่ซื่อสัตย์ มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง” นั่นเอง

From song to belief that ramantize the comet - Thai

หากพูดถึงดาวหางฮัลเลย์ในวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นเพลง “ดาวหางฮัลเลย์” ของ Fellow Fellow อยู่แล้ว เป็นที่นิยมขนาดที่ยอดวิวสูงถึง 30 ล้านวิว นอกจากดนตรีจะเรียบเรียงมาดีแล้ว เนื้อเพลงยังโรแมนติกกินใจ เช่นท่อนฮุคของเพลงที่ร้องว่า

ขออยู่ในชีวิตที่เหลือของเธอได้ไหม
อยากลืมตาแล้วได้พบเธอจนวันสุดท้าย
อยากเป็นคนที่ได้นอนดูดาวข้างเธออีกหมื่นวัน
และเอนไปจุมพิตเธอสักล้านครั้ง
อยู่กับฉันไปนานๆ นะเธอ

และยังมีท่อนร้องช่วงที่ 2 (verse 2) อีกที่เรียกได้ว่าเป็นการบอกรักแบบไม่มีคำว่ารักเลย

และมีดาวหางดวงนึงที่ยังโคจรในอวกาศ
ในช่วงชีวิตจะมีหนึ่งครั้งที่มองเห็นได้ด้วยตา
ดาวที่ฉันยังไม่เคยเห็นมาก่อน
ขอให้ถึงวันนั้น
ได้มีเธอรอดูมันด้วยกันกับฉัน

ส่วนทางจีนเองก็มีการใช้ดาวหางเป็นกิมมิกในซีรีส์ที่ชื่อว่า 彗星来的那一夜 (The Night of the Comet) ในปี 2019 และมีภาคสองตามมาในปี 2020 ซึ่งจุดร่วมของทั้งสองภาคก็คือ มีการใช้ดาวหางเข้ามาเป็นต้นเหตุของปรากฏการณ์ของคู่พระนาง และก่อให้เกิดความรักในเวลาต่อมา ถ้าให้สรุปก็คืออารมณ์หนัง “อุบัติรักดาวหาง” อะไรทำนองนั้น

From song to belief that ramantize the comet - China

แต่ในความเป็นจริง ทั้งคนไทยและคนจีนในสมัยโยราณไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องโรแมนติกเลย แต่กลับมองว่าเป็นลางร้าย เช่น ในทางทฤษฏีห้าธาตุ (五行) ดาวหางเป็นการบ่งชี้ถึงการเสียสมดุลของหยินและหยาง นอกจากนี้ยังเชื่อว่านำพาภัยพิบัติมายังบ้านเมืองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะขอพูดถึงความเชื่อของคนจีนเป็นหลักและจะอธิบายอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป

ความซวยที่(อาจ)มาพร้อมกับดาวหาง(ฮัลเลย์) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อย่างที่ได้บอกกันไปแล้วว่าในความเชื่อของคนจีน ช่วงที่ดาวหางปรากฎความซวยก็บังเอิญมาเยือนบ้านเมืองพร้อมๆ กันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มาลองดูตัวอย่างบางช่วงเวลาตลอดประวัติศาสตร์จีนกันว่าดาวหางฮัลเลย์โผล่มาที่จีนแล้วเกิดโชคดีโชคร้ายอะไรบ้าง 

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นเพียงบันทึกที่เกิดขึ้นในช้วงเวลาไล่เลี่ยกัน อาจดูแล้วเกี่ยวข้องกัน แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย ทั้งนี้เรื่องโหราศาสตร์เป็นความเชื่อส่วนบุคคล โปรดใช้พิจารณญาณในการอ่าน

240 ปีก่อน ค.ศ.

อารยธรรมจีนค้นพบดาวหางที่คาดว่าคือดาวหางฮัลเลย์เป็นครั้งแรก

ในเวลาต่อมาเซี่ยไท่โฮ่ว (夏太后) ผู้มีศักดิ์เป็น “ย่า” ของ อิ๋งเจิ้ง 嬴政 (ชื่อเดิมก่อนที่จะขึ้นเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้) ก็เสียชีวิตลง (คลิกที่หัวข้อ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสันนิษฐาน)

87 ปีก่อน ค.ศ.

พบดาวหางฮัลเลย์ในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ 汉武帝

และเป็นปีเดียวกันที่ฮั่นอู่ตี้สวรรคต

ค.ศ. 218

พบดาวหางฮัลเลย์ในช่วงยุคสามก๊ก

อีกสองปีให้หลัง ฮั่นเซี่ยนตี้ (汉献帝)หรือ พระเจ้าเหี้ยนเต้ ที่คนไทยรู้จักกัน ก็ถูกเฉาพี หรือ โจผี (曹丕) บังคับให้สละราชสมบัติ สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น

ค.ศ. 451

ดาวหางฮัลเลย์ถูกพบในช่วงราชวงศ์เหนือใต้ (南北朝)

ณ ขณะนั้นกำลังเกิดสงครามระหว่างราชวงศ์เว่ยเหนือและซ่งใต้ ในปี 452 ราชวงศ์ซ่งใต้พ่ายแพ้ยับเยิน แต่ไท่อู่จง (太武宗) จักรพรรดิของราชวงศ์เว่ยเหนือก็ถึงแก่กรรม

ค.ศ.712

ดาวหางปรากฏในสมัยของจักรพรรดิถังรุ่ยจง (唐睿宗)

ด้วยความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ จึงตัดสินใจสละราชสมบัติให้ถังเสวียนจง (唐玄宗) (แต่เรื่องราวจริงๆ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก เดี๋ยวไว้เล่าให้ฟังวันหลัง หรือตามอ่านได้ในลิงก์นี้ คลิกที่หัวข้อ)

ค.ศ. 837

สมัยจักรพรรดิถังเหวินจง (唐文宗) ปรากฏดาวหางฮัลเลย์ขึ้นอีกครั้ง

เจ้าตัวมองว่าเป็นการสื่อสารจากสวรรค์ถึงตน พระองค์ตระหนักดีว่าที่ผ่านมาปกครองบ้านเมืองได้ไม่ดีนัก จึงอยากปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีโอกาสเพราะในปี 840 พระองค์ก็สวรรคต (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ คลิกที่หัวข้อ)

ค.ศ. 1222

ดาวหางฮัลเลย์มาเยือนช่วงที่เจงกิสข่าน (成吉思汗) ครองราชย์

จะบอกว่าซวยก็คงไม่เชิง เพราะดาวหางครั้งนั้นเหมือนคำบอกจากจักรวาล ให้ตัดสินใจยกทัพไปบุกยุโรป และถึงแม้เขาจะถึงแก่กรรมไปในปี 1227 แต่ในที่สุดอาณาจักรมองโกลก็สามารถพิชิตแดนตะวันตกได้

ค.ศ. 1910

ดาวหางฮัลเลย์กลับมาเยือนโลกอีกครั้ง ตรงกับรัชสมัยของปูยี (溥仪)

จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง ดาวหางฮัลเลย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายปฏิวัติ และในปี 1912 ราชวงศ์ชิงก็ล่มสลายลงในที่สุด

ค.ศ. 1986

เป็นครั้งล่าสุดที่ดาวหางฮัลเลย์มาเยือนโลก

ประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ในอีก 3 ปีต่อมา วันที่ 4 มิถุนายน ปี 1989 ประเทศจีนเกิดเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (คงไม่ได้สรุปให้อ่านในตอนนี้ แต่ลองไปอ่านข่าวนักกีฬากรีฑาหญิงชาวจีนสองคนกอดกันดูครับ คลิกที่หัวข้อ)

240 ปีก่อน ค.ศ.

อารยธรรมจีนค้นพบดาวหางที่คาดว่าคือดาวหางฮัลเลย์เป็นครั้งแรก

ในเวลาต่อมาเซี่ยไท่โฮ่ว (夏太后) ผู้มีศักดิ์เป็น “ย่า” ของ อิ๋งเจิ้ง 嬴政 (ชื่อเดิมก่อนที่จะขึ้นเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้) ก็เสียชีวิตลง (คลิกที่หัวข้อ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสันนิษฐาน)

87 ปีก่อน ค.ศ.

พบดาวหางฮัลเลย์ในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ 汉武帝

และเป็นปีเดียวกันที่ฮั่นอู่ตี้สวรรคต

ค.ศ. 218

พบดาวหางฮัลเลย์ในช่วงยุคสามก๊ก

อีกสองปีให้หลัง ฮั่นเซี่ยนตี้ (汉献帝)หรือ พระเจ้าเหี้ยนเต้ ที่คนไทยรู้จักกัน ก็ถูกเฉาพี หรือ โจผี (曹丕) บังคับให้สละราชสมบัติ สิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น

ค.ศ. 451

ดาวหางฮัลเลย์ถูกพบในช่วงราชวงศ์เหนือใต้ (南北朝)

ณ ขณะนั้นกำลังเกิดสงครามระหว่างราชวงศ์เว่ยเหนือและซ่งใต้ ในปี 452 ราชวงศ์ซ่งใต้พ่ายแพ้ยับเยิน แต่ไท่อู่จง (太武宗) จักรพรรดิของราชวงศ์เว่ยเหนือก็ถึงแก่กรรม

ค.ศ.712

ดาวหางปรากฏในสมัยของจักรพรรดิถังรุ่ยจง (唐睿宗)

ด้วยความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ จึงตัดสินใจสละราชสมบัติให้ถังเสวียนจง (唐玄宗) (แต่เรื่องราวจริงๆ ซับซ้อนซ่อนเงื่อนมาก เดี๋ยวไว้เล่าให้ฟังวันหลัง หรือตามอ่านได้ในลิงก์นี้ คลิกที่หัวข้อ)

ค.ศ. 837

สมัยจักรพรรดิถังเหวินจง (唐文宗) ปรากฏดาวหางฮัลเลย์ขึ้นอีกครั้ง

เจ้าตัวมองว่าเป็นการสื่อสารจากสวรรค์ถึงตน พระองค์ตระหนักดีว่าที่ผ่านมาปกครองบ้านเมืองได้ไม่ดีนัก จึงอยากปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีโอกาสเพราะในปี 840 พระองค์ก็สวรรคต (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้ คลิกที่หัวข้อ)

ค.ศ. 1222

ดาวหางฮัลเลย์มาเยือนช่วงที่เจงกิสข่าน (成吉思汗) ครองราชย์

จะบอกว่าซวยก็คงไม่เชิง เพราะดาวหางครั้งนั้นเหมือนคำบอกจากจักรวาล ให้ตัดสินใจยกทัพไปบุกยุโรป และถึงแม้เขาจะถึงแก่กรรมไปในปี 1227 แต่ในที่สุดอาณาจักรมองโกลก็สามารถพิชิตแดนตะวันตกได้

ค.ศ. 1910

ดาวหางฮัลเลย์กลับมาเยือนโลกอีกครั้ง ตรงกับรัชสมัยของปูยี (溥仪)

จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง ดาวหางฮัลเลย์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายปฏิวัติ และในปี 1912 ราชวงศ์ชิงก็ล่มสลายลงในที่สุด

ค.ศ. 1986

เป็นครั้งล่าสุดที่ดาวหางฮัลเลย์มาเยือนโลก

ประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ในอีก 3 ปีต่อมา วันที่ 4 มิถุนายน ปี 1989 ประเทศจีนเกิดเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน (คงไม่ได้สรุปให้อ่านในตอนนี้ แต่ลองไปอ่านข่าวนักกีฬากรีฑาหญิงชาวจีนสองคนกอดกันดูครับ คลิกที่หัวข้อ)

หลายคนอาจสงสัยว่าลางไม่ดีที่เกิดจากดาวหางนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรจากไทม์ไลน์ที่ร่ายมาก็น่าจะเห็นถึงความบังเอิญของเหตุการณ์กับการปรากฎของดาวหางแล้ว จึงไม่แปลกที่จะเข้าใจไปแบบนั้น 

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับจักรพรรดิมากเป็นพิเศษได้อย่างไร คำตอบที่พอจะตอบได้ก็คือ เพราะคนจีนมีความเชื่อว่าปรากฏการณ์บนท้องฟ้าอย่างดาวหาง ดาวตก หรือสุริยุปราคาเป็นสิ่งผิดปกติบนท้องฟ้า จึงเชื่อว่าเป็นลางร้าย และจักรพรรดิตามความเชื่อของจีนคือ “โอรสสวรรค์” (天子) การที่ท้องฟ้าเกิดปรากฏการณ์บางอย่างขึ้น ก็เหมือนกับเป็นการสื่อสารจากสวรรค์กับจักรพรรดิโดยตรง ซึ่งแต่ละพระองค์จะรับรู้ว่าอย่างไรบ้างก็คงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

เห็นแสงเเวบรีบขอพร ร้อยวันพันปีไม่เคยจะให้พรใดๆ เพราะขอผิดดวงหรือเปล่า?

ว่ากันว่าถ้าดาวพาดผ่านท้องฟ้า ให้รีบขอพรขอพรแล้วจะสมหวัง แต่เคยเช็กกันหรือเปล่าว่าเป็นดาวหางหรือดาวตกกันแน่ บางทีอาจเป็นเพราะว่าเราไปขอพรดาวหางที่ขึ้นชื่อว่าเป็นลางร้ายก็เป็นได้ 

แล้วดาวหาง (彗星) กับดาวตก (流星) ต่างกันอย่างไร ตามมาอ่านกันต่อเลย

  • ดาวหาง (彗星) คือวัตถุที่มีหินและน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบ เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ส่วนที่เป็นน้ำแข็งจะระเหิดกลายเป็นแก๊ส หลังจากนั้นแสงอาทิตย์จะผลักให้แก๊สเหล่านั้นกระจายกลายเป็นหาง และถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าดาวหางมี 2 หาง ก็คือ หางแก๊สและหางฝุ่น และลักษณะการกระจายตัวของหางคล้ายกับไม้กวาด และคำว่า 慧 จริงๆ แล้วความหมายเดิมคือ ‘ไม้กวาด’ (扫把) จึงเป็นที่มาของการเรียกดาวหางในภาษาจีนว่า 彗星 นั่นเอง
  • ส่วนดาวตก (流星) คือสะเก็ดดาวที่ลอยอยู่ในอวกาศ แล้วถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามาให้เราเห็นบนท้องฟ้า เมื่อผ่านชั้นบรรยากาศสะเก็ดดาวจะลุกไหม้ ทำให้เกิดแสงสว่างเป็นเส้นตรงอย่างที่เราเห็นกัน หากมีสะเก็ดดาวหลายดวงถูกดูดเข้ามา เราก็จะเห็นเป็นฝนดาวตก (流星雨) นั่นเอง
Difference between comet and shooting stars

แต่อย่างที่รู้กัน ปัจจุบันในยุคที่วิทยาศาสตร์พัฒนาแล้ว ผู้คนก็ไม่ได้มองว่าดาวหางเป็นลางร้ายเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป ฉะนั้นใครจะขอพรจากดาวหางหรือดาวตกก็ขอไป ใครจะให้ดาวหางเป็นสัญลักษณ์ของพันธสัญญาแห่งความรักก็ไม่มีปัญหา เพราะเอาจริงๆ มันคือความสวยงามทั้งบนท้องฟ้า วัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา


บทความนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง @kan_tsing และ Tutustory เพื่อถ่ายทอดมุมมองภาษาและวัฒนธรรมที่คุณอาจจะไม่ทันคิด 

เขียนและเรียบเรียงโดย @kan_tsing 
เรียบเรียงและภาพโดย Tutustory

อยากอ่านเนื้อหาผสมผสานภาษาและวัฒนธรรมติดตาม @kan_tsing ได้เลย 



ติดตาม Tutustory 图图是道 เรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีนมาคุยกันได้ที่


อ้างอิง

ภาพจาก

Authors

  • Game 黄俊宏

    กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่เรียนภาษาจีน แบบเรียนๆหยุดๆ จนมารอบล่าสุดเรียนต่อเนื่องแล้ว สนใจภาษา การใช้งาน และ การเล่าเรื่องราวให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ เลยมาทำคอนเทนท์ผสมทักษะการออกแบบ เล่าเรื่องและภาษา

    View all posts
  • kan_tsing logo

    เพจให้ความรู้ภาษาจีน (และอื่นๆ) ที่พยายาม “สรรหา” และ “หาทำ” เรื่องราวที่ไม่น่าจะมีใครเคยทำมาก่อน ทำคอนเทนต์ตามอารมณ์ความรู้สึก ส่วนชื่อเพจอ่านว่า “ก่านฉิง” ก็แปลว่า “อารมณ์ความรู้สึก” เช่นเดียวกัน

    View all posts