ใกล้เทศกาลไหว้พระจันทร์ (中秋节 | zhōngqiū jié) เข้ามาทุกที เรื่องนี้ก็คงมีคนเล่ากันเยอะแล้ว เรามาเล่าอีกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์กันดีกว่า
玉兔 (Yùtù) กระต่ายบนดวงจันทร์ (บางทีก็เรียก 月兔 Yuètù) ในตำนานจีนจริงๆ แล้วอาจไม่ใช่กระต่ายแต่เป็นเสือ!
เราคุ้นเคยกันดีกับตำนาน玉兔 ถ้าเป็นของจีน ก็มีตั้งแต่กระต่ายอยู่บนดวงจันทร์คอยปรุงยาให้สวรรค์ หรือ 嫦娥(chángé) แปลงร่างกลายเป็น 玉兔 ในขณะที่ยังมีอีกหลายอารยธรรมที่มีตำนานที่เกี่ยวข้องกันระหว่างกระตายและดวงจันทร์ ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ไทย ญี่ปุ่น หรือไปทางทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกาก็มี
แต่วันนี้เราจะมาสำรวจกันในอีกแง่มุมนึงว่า 玉兔 จริงๆ แล้ว แต่เดิมอาจจะเป็นเสือก็ได้ เรื่องราวจะไปมายังไง เดี๋ยวจะมาค่อยๆ เล่าให้อ่านกัน
เราเห็นภาพบนดวงจันทร์ เป็นเพราะแพริโดเลีย (Pareidolia 空想性错视)
จริงๆ แล้วภาพที่เราเห็นบทดวงจันทร์ไม่ได้มีเพียงแต่ 兔子 (tùzi | กระต่าย) เพียงเท่านั้น ในมุมอื่นๆของโลกอาจจะเห็นเป็นหน้าหญิงสาว หน้ายิ้มหรือแม้กระทั่งคนตัดไม้ ที่เราเห็นทั้งหมดนี้เป็นเพราะสมองของเราสร้างปรากฎการณ์ที่เรียกว่า 空想性错视 (Kōngxiǎng xìng cuò shì | Pareidolia) แพริโดเลีย ซึ่งเกิดจากการรับรู้โดบการมองเห็นหรือได้ยินเสียงแล้วตีความเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ทั้งๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ เช่นการที่เรามองเมฆแล้วจินตนาการว่าเป็นรูปต่างๆ กับดวงจันทร์ก็เช่นกัน
玉兔 กระต่ายหยกบนวังจันทรา ตามตำนานจีน
ตำนานเกี่ยวกับดวงจันทร์จริงๆ แล้วก็มีมากมายหลากหลายตำนาน ไปตั้งแต่คนตัดไม้、嫦娥奔月(Cháng’é bēn yuè | ตำนานเทพธิดาฉางเอ๋อลอยสู่ดวงจันทร์)
玉兔 มาได้ยังไงก็มีอยู่หลายตำนาน หนึ่งในตำนานที่ได้รับความนิยมคือกระต่ายคู่หนึ่งได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุกลายเป็น 仙人(xiānrén | เซียน) ซึ่งเซียนกระต่ายได้คอยปรุงยาให้แก่สวรรค์อยู่มาวันหนึ่งเซียนกระต่ายกำลังกลับจากการเข้าเฝ้า 玉帝 ( Yùdì | เง็กเซียนฮ่องเต้) ได้เห็นขุนพลสวรรค์คุมตัว 嫦娥 ไป จึงได้สอบถามเรื่องราวได้ว่า 嫦娥 ต้องการช่วยเหลือมนุษย์แต่ทำผิดกฎสวรรค์จึงถูกลงโทษให้ต้องไปอยู่อย่างโดดเดี่ยวบนดวงจันทร์ เมื่อได้ยินก็รู้สึกสงสาร เซียนกระต่ายจึงตัดสินใจส่งลูกคนเล็ก ให้ไปอยู่ข้างกายคอยเป็นเพื่อนกับ 嫦娥
ยังมีอีกตำนานเกี่ยวกับ 玉兔 เกี่ยวกับเรื่องการรักษาโรคระบาด มีอยู่ปีหนึ่งในเมืองปักกิ่งเกิดโรคอหิวาระบาดหนัก เมื่อ 嫦娥 ได้มองลงมาเห็น จึงได้ส่ง 玉兔 ที่ปกติตำยาอยู่บนดวงจันทร์ ให้ลงมารักษาโรคชาวบ้าน 玉兔 แปลงกายเป็นหญิงสาวไปรักษาผู้คนหายจากโรค ชาวบ้านรู้สึกซาบซึ้งใจในความช่วยเหลือ จึงได้ตอบแทนด้วยการให้สิ่งของ แต่ 玉兔 ก็ไม่ยอมรับสิ่งใดเลย เพียงแค่ขอยืมชุดชาวบ้านใส่เท่านั้น ไปถึงไหนก็จะเปลี่ยนชุดไปเรื่อย บางทีก็เห็นแต่งกายเป็นคนขายน้ำมัน บางทีก็เป็นหมอดูดวง หลังจากกำจัดโรคภัยให้ชาวเมืองเสร็จเรียบร้อย 玉兔 ก็กลับขึ้นไปยังดวงจันทร์ นับแต่นั้นมาชาวบ้านจึงได้กราบไหว้บูชาเทพเจ้ากระต่ายในวันไหว้พระจันทร์ด้วย
玉兔 ในตำนานของชนชาติอื่น
兔子 ไม่ได้มีตำนานเพียงเพียงแค่ที่จีนเท่านั้น ยังพบได้อีกในอีกหลายๆ อารยธรรมทั่วโลกมาลองดูกันว่ามีที่ไหนน่าสนใจบ้าง
อินเดีย ไทย และ ญี่ปุ่น
น่าสนใจมากว่าทำไมตำนานของทางอินเดีย ซึ่งเป็นตำนานที่มีเรื่องเล่าและความเชื่อมาทางพุทธศาสนา อาจจะเกิดจากการเผยแพร่เข้าไป
ตำนานมาอยู่ว่า มีฤาษีที่บำเพ็ญเพียรได้เดินทางมาที่ป่าแห่งหนึ่งซึ่งมี 猴子 (hóuzi | ลิง)、狐狸 (húli | สุนัขจิ้งจอก) และ 兔子 (tùzi | กระต่าย) ซึ่งสัตว์ทั้ง 3 บำเพ็ญเพียรด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ เมื่อฤาษีมาขออาหาร ทั้งสามจึงต่างหาอาหารมาให้ 猴子 นำมะม่วงมาให้ 狐狸 นำปลาที่ตายแล้วริมน้ำมาให้ ในขณะที่ 兔子 นำหญ้าแห้งมาให้ ฤาษีมองดูแล้วได้แต่บอกว่าหญ้าแหไม่ได้มีประโยชน์สำหรับตน 兔子 จึงจุดไฟและกระโจนเข้าไปในกองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ฤาษี ฤาษีจึงได้เผยตนว่าเป็นเทพและได้พากระต่ายไปไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้คนทั้งโลกได้เห็น
ตำนานในกลุ่มนี่จะมีความแตกต่างในรายละเอียดอยู่บ้างตรงที่ 兔子 ตายหรือไม่ ในเอเชียอาคเนย์บางแห่งก็เปลี่ยน 兔子 เป็น นาก ผู้มาขออาหารบางตำนานก็เป็นพระอินทร์แปลงกายมา บางตำนานก็เป็นชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า ในตำนานของญี่ปุ่นก็เป็นเทพแห่งดวงจันทร์ ตำนานนี้เองก็ยังเป้นหนึ่งในตำนานของจีนด้วย แต่ก็เปลี่ยนรายละเอียดไปตามแบบจีน
อารยธรรมแอสเต็ก Aztec และทวีปอเมริกา
เทพเจ้า Quetzalcoatl ได้แปลงกายลงมาเพื่อสำรวจโลกมนุษย์ เดินสำรวจไปมาทั้งวันก็เริ่มรู้สึกหิว แต่ก็ยังคงเดินไปจนฟ้ามืด และได้นั่งพักจากความเหนื่อยล้า กระต่ายตัวน้อยผ่านมา เทพจึงได้ขออาหาร ซึ่งกระต่ายก็ได้ถวายหญ้า แต่เทพบอกว่าไม่สามารถทานได้ และคงหิวจนตาย กระต่ายจึงได้บอกว่า “ข้าเองก็เป็นเพียงแค่สัตว์เล็กๆ ท่านสามารถกินข้าได้เพื่อประทังชีวิต” เทพประทับใจมากจึงได้ชูกระต่ายให้สูงถึงผิวดวงจันทร์เพื่อให้เป็นรอยประทับและเป็นอนุสรณ์ให้คนระลึกการสละตนของกระต่าย
ตำนานพื้นถิ่นของแคนาดาและอเมริกา แตกต่างมาอีกสักหน่อย เป็นเรื่องเรียบง่าย กระต่ายนน้อยเฝ้ามองดวงจันทร์ทุกคืน และใฝ่ฝันว่าจะไปยังดวงจันทร์ หาทางแล้วก็ไม่สำเร็จจนกระทั่งมีนกกระเรียนมาช่วยยืดขาให้สูงและพาไปจนถึงดวงจันทร์
玉兔 จริงๆ แล้วเดิมหมายถึงเสือ
ปูพื้นกันไปหมดแล้ว มาเข้าส่วนสำคัญกันเลยดีกว่า 玉兔 (Yùtù) ชื่อก็บอกอยู่ว่าเป็นกระต่ายหยกหากแปลตรงตัวแล้วมีที่มาจาก 老虎 (lǎohǔ | เสือ) ได้อย่างไร?
เรื่องนี้มาขอเล่ากันในเชิงภาษาศาสตร์ 玉兔 นั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากจากคำว่า 於菟 (wūtú) 於 นี่ก็เป็นคำที่ออกได้หลายเสียง ออกได้ทั้ง wū และ yū จึงคาดว่าในภาพหลังได้เพี้ยนมาเป็น 玉兔
於菟 นี่ต้องย้อนไปจีนโบราณสมัย 楚国 (Chǔguó|แคว้นฉู่ 1030-223 ก่อนค.ศ.) คำๆนี้ถูกใช้เรียกเสือใน 楚国 สมัยนั้น เสือยังเป็นสิ่งที่ยกย่องจนใช้ในการตั้งชื่อภูเขา สถานที่ แม่น้ำ ที่สำคัญถึงขนาดขนานนามเทพแห่งจันทร์เป็นเทพเจ้าเสือโดยใช้ 於菟 คำนี้ด้วย
จุดเริ่มต้นของการเพี้ยนอยู่ที่ตรงนี้ครับ 王逸 (Wáng Yì | นักวรรณคดีสมัย 东汉) ได้ตีความผิดพลาดในบทกลอนใน《天问》Tiānwèn โดย 屈原 (Qū Yuān | กวีสมัยช่วงแคว้นฉู่ 340 – 278 ก่อน ค.ศ.) จากความเข้าใจผิดได้ใช้ 兔 แทนที่จะเป็น 菟 และคนในยุคต่อๆ มาก็ได้ใช้การอธิบายนี้ต่อจนจาก 於菟 กลายเป็น 玉兔 ในที่สุด แถมยิ่งพอมีตำนาน 嫦娥奔月 ก็ยิ่งแต่งเติมตำนานต่างๆ จนกลายเป็นเทพเจ้าแห่งยาไป และมาจนถึงในปัจจุบัน
ตำนาน 玉兔 โดยรวมก็น่าจะประมาณนี้ครับ ไม่คิดเลยว่าจะมีที่มาจากเสือจนกลายเป็นกระต่ายได้ในที่สุด และจุดหนึ่งที่น่าสังเกตเลยคือ การใช้ 玉 นำหน้าทำให้เกี่ยวข้องกับสวรรค์หรือความบริสุทธิ์ เช่น 玉帝 (Yùdì | เง็กเซียนฮ่องเต้) รายละเอียดเกี่ยวกับหยกลองไปอ่านต่อได้ที่บทความนี้เลย
ติดตามเรื่องราวภาษาจีนย่อยง่ายๆ ด้วยภาพ หรือมีเรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษาจีน มาคุยกันได้ที่
อ้างอิง
- https://baike.baidu.com/item/玉兔/58302
- http://m.xinhuanet.com/js/2017-10/04/c_1121758003.htm
- https://baike.baidu.com/vbaike/玉兔其实指老虎?/24075
- https://www.kroobannok.com/6726
- https://www.facebook.com/BangkokTokyuDepartmentStore/posts/1211939402473802/
- http://www.xinhuanet.com/2018-09/22/c_1123471050.htm
- https://zh.wikipedia.org/wiki/空想性错视
- https://baike.baidu.com/item/王逸/29715
- https://baike.baidu.com/item/屈原/6109